วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ปัญหาเรื่องเพศ

ปัญหาเรื่องเพศ โดย Thammiga

คำถาม ลักเพศ เป็นวิบากหรือเป็นผลจากกรรมใด ?
พวกเราชาวพุทธคงไม่ปฏิเสธเรื่องกฎแห่งกรรมนะครับ “สัตว์โลกเป็นไปตามกรรมครับ” คราวที่แล้วผมทิ้งท้ายในประเด็นเกี่ยวกับโสเภณีทำนองว่า บางสิ่งบางอย่างเราหรือเขาไม่อยากมีไม่อยากเป็น เราก็มี เขาก็เป็น เด็กบางคนเกิดมาเป็นโรคร้าย มีความผิดปกติทางพันธุกรรม (กรรมชั่วจากมารดาบิดา) มีอาการต่าง ๆ อันไม่เป็นที่พึงประสงค์ ต้องรับทุกขเวทนาตลอดชีวิต“ลักเพศ” น่าจะเช่นกัน วิชาการด้านจิตวิทยาและชีววิทยาบอกว่า ลักเพศน่าจะมีเหตุจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม เท่าที่ทราบ สิ่งแวดล้อมได้แก่ สภาพการเลี้ยงดูในวัยเด็ก เมื่อเร็ว ๆ นี้ นักวิทยาศาสตร์พบ “จีน (Gene)” ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นเกย์ ทำให้ทราบว่าพันธุกรรมมีผลมาก ก็ด้วยเหตุดังกล่าว “วิบาก” ที่เกิดจาก “กรรม” ของคนนั้น ๆ ก็ต้องตกแต่งให้เขาเป็นเช่นนั้น

อยากทราบว่าวิบากใดจึงทำให้เกิดลักเพศครับ เคยได้ยินมาเลา ๆ ว่าการผิดศีลข้อ 3 ให้วิบากเป็นลักเพศ ไม่ทราบว่าเท็จจริงประการใด ขอรบกวนพี่ ๆ น้า ๆ และอาจารย์ผู้สันทัดช่วยตอบคำถามและแนะนำด้วยครับ อาจมีชื่อคัมภีร์ประกอบด้วยก็ได้ เผื่อผมจะได้ศึกษาต่อไป ขอบคุณครับ.

๑. หนังสือ พจนานุกรมภาษาไทย ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. ๒๕๓๐ หน้า ๔๖๗ ให้คำนิยามคำว่า “ลักเพศ” ไว้ว่า :-
ลักเพศ [ลักกะเพด] ก. แต่งตัวปลอมแปลงให้ผิดไปจากเพศของตน; (พูด) ทำนอกลู่นอกทาง. ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ นิยามไว้ว่า แต่งตัวปลอมเพศ เช่นเดียวกับฉบับเฉลิมพระเกียรติ.

๒. หนังสือ NEW MODEL ENGLISH - THAI DICTIONARY ของ So Sethaputra ให้คำนิยามไว้ว่า
ลักเพศ [ลักกะเพด] vi. Adj. (properly) disguised as the opposite sex. Turned into the opposite sex (popularly) strange, odd, freakish แปลว่า (อย่างถูกต้องชัดเจน) การปิดบังซ่อนเร้นให้ดูเหมือนเพศตรงข้าม, ยอมกลับไปเป็นเพศตรงข้าม, (ความนิยม) แปลกประหลาด, ผิดปกติ, วิตถาร, ความคิดประหลาด ดูตามรูปคำแล้วก็ตรงกับพจนานุกรม ฉบับภาษาไทย.

๓. หนังสือ พระไตรปิฎก ซึ่งเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ในวินัยปิฎก ฉบับภาษาบาลี ของมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๒๕ เล่ม ๔ มหาวรรคภาค ๑ ข้อ ๑๒๕, ๑๒๖, ๑๓๒ มีข้อความที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุผู้เป็นอุปัชฌาย์และหมู่พระไม่พึงให้บรรพชาอุปสมบทบุคคลเหล่านี้ คือ บัณเฑาะก์ เถยยสังวาส และหรือ อุภโตพยัญชนกะ หากฝ่าฝืนให้บรรพชาอุปสมบทย่อมถูกปรับโทษว่าเป็นการทำชั่ว แต่ที่บรรพชาอุปสมบทแล้วพึงให้ฉิบหายหรือให้สึกเสีย (นาเสตัพโพ)
บัณเฑาะก์
บัณเฑาะก์ คือ กะเทย ขันที คนถูกตอน จะตรงกับคนเรียกกันในสมัยนี้ว่า เกย์ ทอม ดี้ ตุ๊ด
เลสเบี้ยน
ในหนังสือสมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัย มหาวรรค ตอน ๑ ของมหามกุฏราชวิทยาลัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๗/๒๕๐๕ หน้า ๑๓๖ วินิจฉัย “บัณเฑาะก์” ว่ามี ๕ ชนิด คือ :-

๑. อาสิตตบัณเฑาะก์ หมายถึง คนผู้ใช้ปากอมองคชาต (อวัยวะเพศ) ของชายเหล่าอื่น เขาถูกน้ำอสุจิรดเอาแล้ว ความเร่าร้อน (ราคัคคิ ไฟแห่งความกำหนัดยินดี) จึงสงบลง นี้ก็บัณเฑาะก์หนึ่ง
๒. อุสุยยบัณเฑาะก์ หมายถึง คนผู้เห็นอัชฌาจาร (เห็นคน สัตว์ประพฤติเสพเมถุน) ของชนเหล่าอื่น เมื่อความริษยาเกิดขึ้นในใจตนแล้ว ความเร่าร้อน (โทสัคคิ ไฟแห่งโทสะ คือไฟแห่งความประทุษร้าย) จึงสงบลง นี้ก็บัณเฑาะก์หนึ่ง.
๓. โอปักกมิยบัณเฑาะก์ หมายถึง คนผู้มีอวัยวะเป็นดังพืชทั้งหลาย (สั้นจู๋และไม่แข็งตัว) แม้จะมีความพยายามก็ไม่เกิดผลแล้ว (พยายามทำการเสพเมถุนไม่สำเร็จ) เนื่องจากเป็นขันที คือผู้ถูกเขาตอน (คนทำหมันประเภทตัดท่ออสุจิที่แก้ไขให้กลับสภาพเดิมไม่ได้อีก ก็สงเคราะห์เข้าในขันทีนี้ด้วย) นี้ก็บัณเฑาะก์หนึ่ง.
ขันที สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๔ หน้า ๑๙๓๔ นิยามคำไว้ว่า ชายที่ถูกทำลายองคชาตหรือถูกตัดถูกตอนแล้ว ในภาษาฝรั่งเรียกขันทีว่า ยูนุก จีนเรียกว่า ไท้ก่ำ สันสกฤตว่า ษัณฑะ บาลีว่า บัณเฑาะก์ ไทยว่า กะเทย รวมลงความเห็นตรงกับพระพุทธเจ้าสั่งสอนคือ บัณเฑาะก์และ อุภโตพยัญชนกะ รายละเอียดไปดูที่หนังสือสารานุกรมไทยเล่มดังกล่าว.
๔. ปักขบัณเฑาะก์ หรือ ปักษบัณเฑาะก์ (๑ เดือนทางจันทรคติ มี ๒ ปักษ์ คือ ข้างขึ้นเดือนสว่างเรียก ศุกลปักษ์ ส่วนข้างแรมเดือนมืดเรียก กาฬปักษ์) หมายถึง คนผู้เกิดมามีชีวิตกลายเป็นบัณเฑาะก์ (แสดงพฤติกรรม) ในเดือนข้างแรมอันมืดมิด หรือในความมืดที่มีแสงสว่างสลัว ๆ วับ ๆ แวม ๆ ปิด ๆ เปิด ๆ ที่แท้ก็คือขบวนการของคนผู้ประกอบอาชีพทำธุรกิจกลางคืนประเภทขายบริการทางเพศ ทั้งที่เป็นไปโดยตรงและโดยอ้อมทั้งเปิดเผยและลี้ลับ บันเทิงเริงรมย์ทุกชนิด การพนันขันต่อทุกรูปแบบ นักท่องราตรีทุกประเภทก็อยู่ในข่ายนี้ด้วย และรวมถึงผู้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ในอาชีพพรรค์นี้ทั้งสิ้น นั่นเองคือตัวการ “ปักษบัณเฑาะก์” คราวศุกลปักษ์เดือนสว่างหรือกลางวันมาเยือนเขาจะนอนหลับสบายตลอดทั้งวันเหมือนแมวหรือนกฮูกไม่มีผิด ทำให้ความเร่าร้อน (โมหัคคิ ไฟแห่งความลุ่มหลง) ของเขาจึงสงบลง คนผู้มีจิตใจอยากมีอยากเป็นเช่นนี้ก็ได้มีได้เป็นสมใจอยาก คนผู้มีจิตใจไม่อยากมีไม่อยากเป็นเช่นนี้ก็ได้มีได้เป็นโดยความจำใจหรือความจำเป็นบังคับ บ้างก็อ้างว่าถูกหลอก บ้างก็ว่าเพื่อความอยู่รอด บ้างก็ว่าเพื่อปากเพื่อท้อง เป็นต้น แต่ความเป็นจริงอยู่ที่อานุภาพแห่งอกุศลวิบากที่รับมาจากพันธุกรรมบวกเข้ากับตนกระทำเพิ่มเติมด้วย (ผลกรรมชั่วดลบันดาลให้เป็นไป รายละเอียดมีในหนังสือการประพฤติผิดในกามทั้งหลายแล้ว) นี้ก็บัณเฑาะก์หนึ่ง.
หากพวกเราให้โอกาสคนผู้เป็น “สัตบุรุษชน” จริง ๆ มาจัดระเบียบสังคมคนกลางคืน คนยากจน สิ่งเสพติดให้โทษต่าง ๆ หรือแม้แต่ขบวนการประพฤติทุจริตคอร์รัปชันด้วยแล้ว เชื่อว่าเมืองไทยและสังคมไทยจักสงบกว่านี้แน่ เพราะสัตบุรุษชนท่านจะให้สติปัญญาสัมมาทิฐิแก่เขาแล้วเขาจักลด ละ เลิกเอง โดยไม่ต้องใช้กฎอะไรทั้งสิ้นมาบังคับก็ได้ เพราะพื้นฐานแห่งใจจริงของทุกคนในโลกปรารถนาความดีด้วยกันทั้งนั้น แต่ที่เป็นคนดีไม่ได้ดั่งใจก็อยู่ที่ขาด “สัมมาทิฐิ คือความเห็นชอบ” อย่างเดียว หลักสูตรการเรียนการสอนเรื่องสัมมาทิฐิ (ส่วนปฏิบัติจริง) ในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เป็นเหมือนตาลยอดด้วนไปหมดแล้ว ส่วนสัมมาทิฐิตามหลักวิชาการนั้นคนนำมาสั่งสอน นำมาใช้พูดและเขียนกันจนเฟ้อ จึงเกิดสัมมาทิฐิชนิดที่เพ้อฝันขึ้นแก่ประชากรโลกเป็นส่วนมาก ขบวนการอาชีพของคนกลางคืน สิ่งเสพติดให้โทษแก่มนุษย์ ทุจริตคอรัปชั่นในทุกวงการ หรือสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ เป็นต้น จึงเกิดผุดขึ้นมากเหมือนดอกเห็ดบนผืนแผ่นดินไทยนี้ การระงับยับยั้งหรือปราบปรามดูเหมือนจะยิ่งเป็นการยั่วยุให้ กำเริบขึ้นเรื่อย ๆ เป็นเงาตามตัว ที่เป็นเช่นนี้ก็ถือว่าเป็นธรรมดาของโลกและสัตว์โลกที่ไม่ได้ฝึกจิตใจให้รู้แจ้งโลกหนึ่งล่ะ และอีกอย่างหนึ่งก็เป็นเพราะบุคคลผู้เป็นสัตบุรุษชนจริง ๆ ในสังคมเราเป็นผู้ด้อยโอกาสไปเสีย แต่ก็มีปัญหาอยู่ที่ว่าใครเล่าจะพบเห็นและยอมรับว่าคนเช่นไรคือ “สัตบุรุษชน” ที่แท้จริงกันเล่า ! เรื่องนี้คงไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ หรืออาจเป็นไปไม่ได้เลย แต่ก็ควรแสดงความเห็นไว้ด้วย.
๕. นปุงสกบัณเฑาะก์ หมายถึง คนผู้เกิดมาไม่มีเพศในคราวถือปฏิสนธิครั้งแรก คือ ไม่ปรากฏว่าเพศชายหรือหญิงมาแต่กำเนิด นี้ก็บัณเฑาะก์หนึ่ง.

เถยยสังวาส หรือ ไถยสังวาส
เถยยสังวาส คือคนลักเพศ หมายถึง ผู้อยู่ร่วมหมู่โดยความเป็นขโมย หรือคนปลอมบวช ปลอมเป็นทหาร ตำรวจ เป็นต้น ลักษณะเช่นนี้จึงจัดว่าเป็นคนลักเพศตามความหมายในพุทธศาสนา คนไทยนิยมพูดเสมอว่า ร่วมสังวาส หมายถึงชายหญิงร่วมเพศกันนั้น ไม่ตรงตามที่พระพุทธเจ้าสั่งสอนไว้ ขอให้ตั้งสติ ความระลึกได้ และสัมปชัญญะ ความรู้ตัวดี ๆ จะรู้ชัดเจน
ในอรรถกถาพระวินัย มหาวรรค ตอน ๑ เล่มเดียวกัน หน้า ๑๓๘ ท่านวินิจฉัย เถยยสังวาส คือ คนลักเพศ ไว้ว่า มีอยู่ ๓ ชนิด คือ :-
๑. ลิงคัตเถนกะ คนลักเพศ หมายถึง คนบวชด้วยตนเองแล้วไปอยู่ที่วัดกับพระ ไม่นับพรรษาแห่งภิกษุ ไม่ยินดีการไหว้ตามลำดับอาวุโส ไม่ห้ามอาสนะ (ไม่เลือกอาสนะหรือไม่เลือกที่นั่ง) ไม่เข้าร่วม สังฆกรรมมีอุโบสถ ปวารณา เป็นต้น นี้คือคนลักเพศ.
๒. สังวาสัตเถนกะ คนลักสังวาส หมายถึง คนผู้บรรพชาเป็นสามเณรถูกต้องตามกรรมวิธีในพุทธศาสนา เมื่อตนไปสู่ถิ่นอื่นจึงกล่าวเท็จด้วยการนับพรรษาเหมือนภิกษุว่า ข้าพเจ้า ๑๐ พรรษา หรือว่า ๒๐ พรรษา ยินดีในการไหว้ตามลำดับอาวุโส ห้ามอาสนะ (ไม่นั่งอาสนะต่ำ) ร่วมสังฆกรรมมีอุโบสถและปวารณ เป็นต้น นี้คือคนลักสังวาส.
อนึ่ง ภิกษุที่ลาสิกขาไปแล้วแต่กลับมาอุปสมบทใหม่อีก มีการพูดเท็จนับพรรษาต่อไปจากพรรษาที่ตนบรรพชาอุปสมบทคราวก่อนโน้น ก็สงเคราะห์เข้าในคนลักสังวาสนี้ด้วย
๓. อุภยัตเถนกะ คนลักทั้งสองอย่าง คือทั้งลักเพศและทั้งลักสังวาส หมายถึง คนผู้ลักบวชด้วยตนเองแล้วไปอยู่ที่วัดกับพระ มีการนับพรรษาแห่งภิกษุด้วย ยินดีในการไหว้ตามลำดับอาวุโสด้วย ห้ามอาสนะด้วย (ไม่นั่งอาสนะต่ำ) ร่วมสังฆกรรมมีอุโบสถและปวารณา เป็นต้น ด้วย นี้คือคนลักทั้งสองอย่าง(ทั้งลักเพศและลักสังวาส)
ลักเพศ พระพุทธเจ้าหมายถึง คนปลอมบวช เขาลักออกจากเพศฆราวาสมาปลอมแปลงบวชเป็นเพศบรรพชิต โดยไม่ทำตามกรรมวิธีบรรพชาอุปสมบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ หรือบวชไม่ถูกต้องตาม หลักพุทธบัญญัติหรือตามกฎหมายพระสงฆ์ แต่ถ้ากฎหมายพระสงฆ์ขัดกับพุทธบัญญัติแล้วก็สงเคราะห์เข้ากับความผิดคือลักเพศนี้เช่นกัน

ในวงการทางบ้านเมืองก็มีคนลักเพศ เช่น ลักแต่งเครื่องแบบทหาร ลักแต่งเครื่องแบบตำรวจ เป็นต้น ทั้ง ๆ ที่ตนก็ไม่เคยรับราชการทหาร ตำรวจมาเลย ดังนั้น “ลักเพศ” จึงไม่ใช่ความหมายว่า กะเทย เกย์ เป็นต้น ตามที่คนทั่วไปเข้าใจกัน กลับมีความหมายตรงกับพจนานุกรมภาษาไทยที่จำกัดความไว้ว่า “แต่งตัวปลอมแปลงให้ผิดไปจากเพศของตน หรือแต่งตัวปลอมเพศ” ภาษาอังกฤษว่า disguised as the opposite sex. การปิดบังซ่อนเร้นให้ดูเหมือนเพศตรงข้าม (ปิดบังเพศพลเรือนไว้ด้วยเครื่องแบบของทหารหรือตำรวจ หรือปิดบังเพศฆราวาสไว้ด้วยการนุ่งห่มเครื่องแบบของบรรพชิต) และตรงกับพุทธศาสนาว่า เถยยสังวาส หรือ ไถยสังวาส ซึ่งมีคำแปลตรงตัวว่า “การร่วมสังวาสกับหมู่พระด้วยความเป็นขโมย” คือคน “ลักเพศ” นั่นเอง แต่คนที่ขาดความสังเกตศัพท์หรือคำแล้วก็โมเมเอาเองว่า ลักเพศนั้นหมายถึงเกย์ กะเทย เป็นต้น สำหรับคำว่าร่วมสังวาส คนไทยส่วนมากหมายถึงการร่วมเพศ (การปฏิบัติกามกิจ) ซึ่งกันและกันในสองคนนั้น แต่พุทธศาสนาหมายถึง การเข้าไปปะปนอยู่กับคนในสังคมนั้น ๆ เรียกว่า “ร่วมสังวาส” ผู้ศึกษาควรระลึกไว้ให้ดีจะได้เป็นคนมีคุณธรรมประกอบด้วย “สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ” จริง ๆ ไม่เลอะเลือน.-
อุภโตพยัญชนกะ
อุภโตพบัญชนกะ คือ ผู้มีอวัยวะเพศทั้งสองในคนคนเดียว (มีอวัยวะเพศชาย – หญิงปรากฏใน คนเดียวกัน) รายละเอียดมีในข้อ ๑๓๒ แล้ว และอุภโตพยัญชนกะนี้ ไปตรงกับคำว่า กะเทย ซึ่งราชบัณฑิตได้นิยามคำไว้ในหนังสือสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๒ หน้า ๘๑๐ ว่า :-
กะเทย หมายถึงคนหรือสัตว์ที่มีลักษณะหรือมีอวัยวะเป็นทั้งของหญิงและชาย หรือเป็นทั้งของตัวผู้และตัวเมียจนจำแนกออกเป็นเพศใดเพศหนึ่งไม่ได้ชัดเจน คำนี้ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Hermaphrodite (เฮอมาโฟรไดท์) (รายละเอียดในหนังสือสารานุกรมเล่มนี้ทั้งหมด ๑๓ หน้า มีภาพประกอบโดยชัดเจนด้วย แต่ไม่บอกว่าเป็นผลกรรมอะไร)
พจนานุกรม อังกฤษ - ไทย ฉบับแก้ไขปรับปรุงใหม่ ไทยวัฒนาพานิช เขียน hermaphrodite n. (เฮอแม็ฟโรไดท์) -หมายถึงมนุษย์ (สัตว์) ที่มีลักษณะหรือมีนิสัยประจำทั้งสองเพศ; กะเทย; สัตว์ที่มีอวัยวะสืบพันธุ์สองเพศ เช่น ไส้เดือน; ต้นไม้ที่มีทั้งเกษรตัวผู้และตัวเมียในดอกเดียวกัน…รวมความว่า “ลักเพศ” พระพุทธเจ้าหมายถึง คนปลอมบวชหรือลักบวช ส่วนคนปลอมเป็นทหาร เข้าในลักเพศได้เช่นกัน สำหรับเพศหญิงแต่งตัวในชุดของชายหรือเพศชายแต่งชุดของผู้หญิง หรือคนผู้มีอวัยวะเพศเป็นชายแต่มีจริตนิสัยเหมือนหญิงหรือผู้มีอวัยวะเพศเป็นหญิงแต่มีจริตนิสัยเหมือนชาย เหล่านี้น่าจะจัดเป็น “บัณเฑาะก์” ไม่น่าจะเป็น “ลักเพศ” เพราะพระพุทธเจ้าหรือบาลีระบุไว้ชัดเจนแล้ว เราน่าจะจำกัดความลงไปก่อนในการใช้คำพูด การเขียน จึงจะไม่เกิดความสับสนได้
กะเทย บทความในหนังสือพิมพ์ มติชนรายวัน ฉบับวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๔๕ เรื่อง Sex ผิดทาง โดย สันต์ หัตถีรัตน์ มีว่า เพศกะเทย ประกอบด้วย
๑. กะเทยแท้ (true hermaphrodite) คือ มีทั้งรังไข่และลูกอัณฑะในคนเดียวกัน และรูปลักษณะ ร่างกายภายนอกมีทั้งลักษณะของชายและหญิงปนกัน
๒. กะเทยเทียม (false hermaphrodite) คือ มีอวัยวะเพศอย่างหนึ่ง แต่มีรูปลักษณะร่างกายภายนอกเป็นอีกอย่างหนึ่ง ได้แก่
- กะเทยหญิง (female hermaphrodite) คือ มีรังไข่ แต่รูปลักษณะร่างกายภายนอกเป็นชาย
- กะเทยชาย (male hermaphrodite) คือ มีลูกอัณฑะ แต่รูปลักษณะร่างกายภายนอกเป็นหญิง
๓. กะเทยไม่มีเพศ (neuter or neutral hermaphrodite) คือ ไม่มีทั้งลูกอัณฑะและรังไข่ รูปลักษณะ ร่างกายภายนอกมักไม่ชัดเจนว่าเป็นเพศใด
๔. กะเทยแต่ง (transvestite) คือ ชอบแต่งกายและทำตนในลักษณะที่ตรงข้ามกับเพศที่แท้จริงของตน นั่นคือ ชายทำตนเป็นหญิงหรือหญิงทำตนเป็นชาย “กะเทยแต่ง” เหล่านี้ถ้าชอบร่วมประเวณีกับ เพศเดียวกัน ก็ถือว่าเป็นพวก “รักร่วมเพศ” (homosexual) พวกที่เรียกตนเองว่า “เกย์” (gay) ก็จัดอยู่ ในกลุ่มนี้ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย
๕. กะเทยแปลง (transsexual) คือ ตัดหรือถูกตัดอวัยวะเพศของตนทิ้ง และตัดแต่งให้ร่างกายภายนอกมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายเพศตรงข้าม แต่จะไม่สามารถทำให้มีอวัยวะเพศที่แท้จริง คือ มีรังไข่หรือมีลูกอัณฑะได้ ผู้ที่ตัดรังไข่หรือลูกอัณฑะทิ้งไป จึงไม่สามารถมีบุตรที่เป็นเชื้อสายของตนได้
ดูเจตนาของผู้ตั้งคำถามแล้ว น่าจะตั้งว่า อยากทราบว่าวิบากใด หรือกรรมชั่วอะไรจึงทำให้เกิดผลเป็นกะเทย ? เกย์ ทอม ดี้ ตุ๊ด เลสเบี้ยน หรือเป็น บัณเฑาะก์ อุภโตพยัญชนกะ (ยกเว้นเถยยสังวาสหรือลักเพศ)หรือว่ากรรมชั่วอะไรจึงทำให้เป็นคนกลางคืน เป็นต้น คำตอบมีดังต่อไปนี้ คือ :-
คำแปลและความหมายศีลข้อ ๓
กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ. ข้าพเจ้า ย่อมสมาทานเอา ซึ่งสิกขาบท คือเจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย. สีละ หรือ ศีล (ภาษามคธ หรือภาษาบาลี) เป็นภาษาต่างประเทศ คือภาษาของคนในประเทศอินเดียสมัยโบราณ แปลได้ ๓ อย่าง คือ:-
๑. ศีล แปลว่า ความปรกติ ได้แก่ กายปรกติ วาจาปรกติ ใจปรกติ หมายถึงกาย วาจา ใจ ของคนผู้เป็นมนุษย์ใจสูง ซึ่งเป็นผู้ดำรงชีวิตซึมซาบอยู่กับคุณธรรมและจริยธรรมของมนุษย์ ๕ ประการ มีการประพฤติเว้นจากปาณาติบาต (ทำสิ่งที่มีลมปราณและหรือมีชีวิตให้ตกไป) เป็นต้น
กายปรกติ คือกายไม่วิบัติ (มีอวัยวะครบถ้วนถึง ๓๒ ประการ โดยไม่ขาดและไม่เกินในวันคลอด) ไม่พิการ ไม่ทุพพลภาพ ไม่มีโรคาพาธติดตัว เป็นต้น.
วาจาปรกติ คือไม่พูดปด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด (คือพูดยุยงให้เขาแตกกันเพื่อตนจะได้ประโยชน์) ไม่พูดคำเพ้อเจ้อ และคำพูดไม่วิบัติ (พูดไม่ชัด พูดติดอ่าง พูดไม่ออกหรือใบ้ เป็นต้น)
จิตใจปรกติ คือไม่คิดเพ่งเล็งผู้อื่นในแง่ร้าย ไม่คิดพยาบาทหรือปองร้ายผู้อื่นเพื่อให้เขาเดือดร้อน และไม่คิดเห็นผิด (เป็นมิจฉาทิฐิ) จากความเป็นจริง เช่น คิดเห็นเป็นมิจฉาทิฐิในเรื่องบุญ เรื่องบาป เรื่องดีเรื่องชั่ว เป็นต้น
๒. ศีล แปลว่า สิ่งที่ทำให้บุคคลผู้ปฏิบัติตามเป็นคนปรกติ สำหรับเหตุหรือกรรมอันดีที่ให้คนเป็นมนุษย์โดยปรกติและสมบูรณ์ตามแบบฉบับแห่งรูปร่างนั้น อยู่ที่กุศลกรรม (กรรมดี) ในศีลทุกประเภท จัดว่าเป็นโอสถพิเศษสำหรับรักษาชีวิต ทรัพย์สิน เป็นต้น ให้เป็นปรกติได้ด้วย.
๓. ศีล แปลว่า สิ่งที่เป็นสมบัติหรือเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลผู้ปรกติแล้ว เป็น สีลธะนัง ทรัพย์คือศีล ตามหลักแห่งอริยทรัพย์ ๗ อย่าง (พระเสขะ พระอเสขะ ท่านมีอริยทรัพย์ ๗ เป็นทรัพย์สมบัติในชีวิต หรือ มีอริยทรัพย์ ๗ เป็นกรรมสิทธิ์ในการดำเนินชีวิต)
ศีล ๕, ๘, ๑๐, นั้น ย่อมมีคำเหมือนและคำต่างอยู่ทุก ๆ ข้อ เช่น คำเริ่มต้นจะแตกต่างกัน ส่วนอีก ๓ คำหลัง คือ เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ นั้น ย่อมเหมือนกันทุกข้อ อย่างศีลข้อที่ ๓ ว่า :-
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ. แปลว่า ข้าพเจ้า (ตัวใครตัวมัน เพราะเป็นเอกพจน์) ย่อมสมาทานเอา (รับเอามาถือไว้ในใจให้ดีแล้วปฏิบัติตาม) ซึ่งสิกขาบท (บทธรรมบทศีลอันเราพึงศึกษาหรือปฏิบัติ) คือเจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย.
ความหมายของศีลในแต่ละบท
ศีล เป็นพุทธบัญญัติ พระองค์ทรงบัญญัติศีลให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ส่วนกฎหมายนั้นคนผู้เป็นปุถุชนบัญญัติ และบัญญัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม ดังนั้น ศีลทุก ๆ ข้อ จะเป็นศีล ๕, ๘, ๑๐, เป็นต้น ไม่มีข้อใดแปลว่าห้าม ท่านผู้ใดแปลศีลทุก ๆ ข้อว่าห้าม เช่น ห้ามฆ่าสัตว์ ห้ามลักทรัพย์ ห้ามประพฤติผิดในกาม เป็นต้น โปรดเข้าใจด้วยว่า ท่านผู้นั้นเป็นคนไม่ปรกติ เพราะเขาปฏิบัติทางกาย วาจา และใจผิดศีลเป็นประจำ โรคมิจฉาทิฐิ (โรคความเห็นผิด) โรคทิฐิวิปัลลาส (โรคความเห็นคลาดเคลื่อน) ซึ่งเป็นโรคอย่างยิ่งยวด เข้าไปเสียดแทงปัญญาหรือสัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ) ให้เสื่อมเสียหรือผุกร่อนไปแล้ว.
การอ่านข้อศีลเช่นศีล ๕, ๘, ๑๐ ในตำรา ในพระไตรปิฎก กรุณาดูคำลงท้ายคือคำว่า “มิ” ตัวนี้ด้วย เพราะ “มิ” แปลว่า ข้าพเจ้า ! หมายถึงการปฏิบัติศีลต้องเป็นอิสระตัวใครตัวมันเท่านั้น การห้ามชื่อว่าเป็นเผด็จการจะตรงทางสายกลางมิได้ การห้ามย่อมชวนให้เกิดคำถามว่าใครเป็นผู้ห้าม เช่นว่า ห้ามฆ่าสัตว์ ห้ามลักทรัพย์ เป็นต้น แล้วใครไปห้ามใคร ? ถ้าตอบว่าห้ามตัวเองไงเล่า ! งั้นก็ไปขัดกันกับคำว่า “สมาทิยามิ” อันเป็นบทท้าย ซึ่งแปลว่า ข้าพเจ้า ย่อมสมาทานเอา (ไม่ใช่แปลว่าข้าพเจ้าย่อมห้าม ในแง่ของการปฏิบัติศีลจริง ๆ แล้ว ไม่มีท่านผู้ใดจะไปห้ามใครว่า ห้ามฆ่าสัตว์ ห้ามลักทรัพย์ ห้ามประพฤติผิดในกาม เป็นต้น ได้เลย แม้ตัวเองยังไม่สามารถห้ามตัวเองได้ ถ้าเกิดมีได้ก็หมายความว่า เป็น “เผด็จการ” ในการประพฤติศีล ทางพระเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค เป็นทางสายเคร่ง เมื่อเคร่งถึงที่สุด การปฏิบัติศีลสาย สัมมาวายาม คือความเพียรชอบจะขาดสูญไปได้ ส่วนกฎเกณฑ์ที่ปุถุชนบัญญัติขึ้นมาเพื่อให้ปุถุชนในสังคมปฏิบัติตามใครฝ่าฝืนจะถูกลงโทษด้วยน้ำมือของผู้มีอำนาจบ้าง หรือผู้มีอำนาจทำให้พ้นโทษบ้าง สำหรับปุถุชนผู้ปฏิบัติตน “เผด็จการ” ในส่วนนี้มีได้และเป็นได้แน่ !
(บท) เวระมะณี คือเจตนาเป็นเครื่อง (มือ) งดเว้นนั้น หมายถึงความจงใจ ตั้งใจ มุ่งมั่นในอันที่จะเว้นให้ได้โดยสิ้นเชิง และเว้นได้ด้วยสติสัมปชัญญะหรือปัญญาอันตนได้ศึกษา (สิกขาปะทัง) มาตามหลักสัมมาทิฐิโดยสมบูรณ์แล้ว การเว้นได้ในลักษณะเช่นนี้ไม่ใช่ “เผด็จการ” แต่เป็น “ทางสายกลางตัวจริง” ถ้างดเว้นได้ด้วยวิธีเผด็จการ เช่น อดทนเอา หลีกเลี่ยงเอา เป็นต้น ชื่อว่าปฏิบัติศีลไม่สมบูรณ์
(บท) กาม ในคำว่ากาเมสุนั้น แปลว่า ความใคร่ หมายถึงความสนใจ ความเอาใจใส่ หรือความยินดีปรีดา อันคุกรุ่นให้ร้อนระอุรุมเร้าในจิตใจต่อสิ่งยั่วยวนให้เกิดความใคร่เกิดความยินดี ๕ อย่าง
(กามคุณห้า) และคำว่า “กาม” หรือ “กามคุณห้า” นั้น ไม่ได้หมายถึงเพศหญิงเพศชายโดยเฉพาะ แต่ว่า สองเพศนี้เป็นศูนย์รวมแห่งกามคุณห้า หรือเป็น hero คือตัวพระเอกในบทศีลข้อ ๓ หรือในบทธรรมอื่น ๆ หรือในเรื่องเท่านั้น สำหรับกามคุณห้าตามหลักวิชาการหรือตามหลักปริยัติสัทธรรมนั้น คือ :- (ตรวจมาถึงตรงนี้ครับ)
๑. ตา คู่กับรูป รูปธรรมชาติบ้าง วิทยาศาสตร์บ้าง เช่น ตาเห็นคน เห็นรถยนต์ เป็นต้น
๒. หู คู่กับเสียง เสียงธรรมชาติบ้าง วิทยาศาสตร์บ้าง เช่น หูได้ยินเสียงคน เสียงดนตรี เป็นต้น
๓. จมูก คู่กับกลิ่น กลิ่นธรรมชาติบ้าง วิทยาศาสตร์บ้าง เช่น จมูกได้กลิ่นดอกไม้ กลิ่นน้ำหอม เป็นต้น
๔. ลิ้น คู่กับรส รสธรรมชาติบ้าง วิทยาศาสตร์บ้าง เช่น ลิ้นได้รสเปรี้ยว รสหวาน เป็นต้
๕. กาย คู่กับโผฏฐัพพะ คือสิ่งที่มาสัมผัสถูกต้อง หรือกระทบร่างกายมีเย็น ร้อน อ่อน แข็ง อบอุ่น
เจ็บ ปวด ขี้เกียจ ขยัน เป็นต้น
ตา ไปเห็นรูปว่าดี - ไม่ดี นี้ก็เป็นกามหนึ่ง อาจเป็นรูปผู้ชายหรือหญิงก็ได้ หรือรูปอื่น ๆ เช่น รูปเงิน รูปทองคำ รูปรถยนต์ รูปศพเน่า เป็นต้น ก็ได้
หู ไปได้ยินเสียงว่าดี - ไม่ดี นี้ก็เป็นกามหนึ่ง อาจเป็นเสียงผู้ชายหรือหญิงก็ได้ หรือเสียงอื่น ๆ เช่น
เสียงดนตรี เสียงสรรเสริญ เสียงด่า เสียงนินทา เป็นต้น ก็ได้
จมูก ไปได้กลิ่นว่าดี - ไม่ดี นี้ก็เป็นกามหนึ่ง อาจเป็นกลิ่นผู้ชายหรือหญิงก็ได้ หรือกลิ่นอื่น ๆ เช่น กลิ่นดอกไม้ กลิ่นศพเน่า เป็นต้น ก็ได้
ลิ้น ไปรู้รสว่าดี - ไม่ดี นี้ก็เป็นกามหนึ่ง อาจเป็นรสของผู้ชายหรือหญิง (รสจูบ) ก็ได้ หรือรสอื่น ๆ เช่น รสหวาน รสเปรี้ยว รสอร่อยหรือไม่อร่อย เป็นต้น ก็ได้.
กาย ไปสัมผัสเสียดสีโผฏฐัพพะ รู้สึกว่าดี - ไม่ดี นี้ก็เป็นกามหนึ่ง อาจเป็นการสัมผัสเสียดสีกายผู้ชาย
หรือหญิงก็ได้ หรือสัมผัสเสียดสีกับผ้าเนื้อละเอียด หรือผ้าเนื้อหยาบกระด้าง เป็นต้น ก็ได้
สิ่งเหล่านี้เรียกว่า “กามทั้งหลาย” คือเป็นกามฝ่ายที่ใจว่าดีด้วย ที่ใจว่าไม่ดีด้วย ทางพระหรือทางวัดเรียกรวม ๆ กันว่า กิเลสกามและวัตถุกาม หรือกามคุณห้า.
(บท) สิกขาปะทัง แปลว่า บทธรรมที่ควรศึกษา หมายถึง การศึกษาตามแนวทางแห่งภาษาธรรม หรือจิตใจ หรือ ธรรมาธิษฐาน หรือศึกษาตามหลัก “ไตรสิกขา” เท่านั้น คือ อธิสีลสิกขา สิกขิตัพพา
อธิจิตตสิกขา สิกขิตัพพา และอธิปัญญาสิกขา สิกขิตัพพา (ในอนุศาสน์ ๘ ที่พระอุปัชฌาย์ใช้กับ พระบวชใหม่อยู่แล้ว) มีสิกขาปะทัง (การศึกษา) อยู่ ๓ รูปแบบ คือ :-
๑. ทัสสเนนะ ปะหาตัพพา ธัมมา ธรรม (ปัญหา หรือความทุกข์) บางอย่างอันบุคคลพึงละได้ด้วยทรรศนะ ความเห็น คือสัมมาทรรศนะหรือสัมมาทิฐิ ความเห็นชอบเท่านั้น หมายความว่า ให้ไปสนทนาหรือไปสอบถาม “ศีล” กับท่านผู้สำเร็จปัญญาสายสัมมาทิฐิ (มีความเห็นชอบ) ที่สมบูรณ์จริง ๆ แล้ว เราก็จะได้ทรรศนะใหม่เป็นสัมมาทรรศนะ หรือเป็นสัมมาทิฐิเกิดขึ้นมาในใจเรา ที่สุดก็สามารถมีเจตนาเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลายได้ด้วยสัมมาทรรศนะนั้น (และศีลข้ออื่น ๆ ก็ย่อมงดเว้นได้เช่นกัน) โดยไม่ต้องห้ามหรือไม่ต้องเผด็จการแต่อย่างใด นี้ก็เป็นสิกขาหรือการศึกษาอย่างหนึ่ง. (ที่สั่งสอนหรือศึกษากันตามสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งในวัดและนอกวัดนั้น เป็นการศึกษาแบบปริยัติศึกษาทั้งหมด ไม่ใช่เป็นการศึกษาแบบไตรสิกขาได้เลย มีบ้างก็เป็นเพียงกาฝากเท่านั้น)
๒. ภาวนายะ ปะหาตัพพา ธัมมา ธรรม (ปัญหา หรือความทุกข์) บางอย่างอันบุคคลพึงละได้ด้วยภาวนา สมถะและหรือวิปัสสนาภาวนาสายตรง คือตรงตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนจริง ๆ ไม่ใช่ผิดหรือวิปัลลาส เมื่อปฏิบัติถึงที่สุดก็บรรลุถึงเจโตวิมุตติบ้าง ปัญญาวิมุตติบ้าง นี้ก็เป็นสิกขาหรือการศึกษาอย่างหนึ่ง. ผู้ศึกษาแบบไตรสิกขามาถึงขั้นนี้แล้ว ย่อมสามารถละเว้นได้หมดทั้งโลกเป็น “โลกุตตระ”พ้นโลกไปแล้ว จะป่วยกล่าวไปใยถึงเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลายกันเล่า
๓. เนวทัสสเนนะ นภาวนายะ ปะหาตัพพา ธัมมา ธรรม (ปัญหาหรือความทุกข์) บางอย่างอันบุคคลพึงละได้ด้วยทรรศนะก็ไม่ใช่หรือด้วยภาวนาก็ไม่ใช่ ในทางปฏิบัติแล้วหมายถึง การแสดงออกทางกาย วาจา ใจ ตามธรรมชาติที่เกิดในอารมณ์ของตนจริง ๆ โดยไม่มีความคิดปรุงแต่งแต่อย่างใด และก็ไป –
(๗)
แสดงต่อหน้าท่านผู้ผ่านการศึกษาและปฏิบัติด้านสีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขาโดยชอบมาแล้วด้วย เมื่อ
ท่านพบเห็นการแสดงออกท่านก็จะแนะนำพร่ำสอนให้รู้และเข้าใจในสิ่งที่ตนแสดงออกมานั้น เราก็จะเกิดปัญญาสัมมาทรรศนะใหม่ นี้ก็เป็นสิกขาหรือการศึกษาอย่างหนึ่ง.
(บท) มิจฉาจารา คือความประพฤติผิด หมายถึง ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ตามหลักเกณฑ์แห่งการปฏิบัติจริงกับศีลข้อ ๓ นี้ และมีการประพฤติผิดอยู่ ๓ ลักษณะ ดังนี้

ประพฤติผิดในกามทางกาย ดังนี้ คือ :-
๑. ตนเองหรือให้ผู้อื่นไปจับต้อง ลูบคลำ เสียดสีอวัยวะของผู้อื่นที่เป็นอวัยวะมีเจ้าของหวงแหนหรือหวง ห้าม นี้ก็เป็นการประพฤติผิดในกามทางกายอย่างหนึ่ง.
๒. ตนเองหรือให้ผู้อื่นไปจับต้องหรือเคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของต่าง ๆ อันมีน้ำหนักพอจะยกเคลื่อนย้ายได้ เช่น ผ้านุ่งผ้าห่ม กระเป๋าใส่เอกสารลับ เป็นต้น ที่มีเจ้าของหวงแหนหรือมีเจ้าของหวงห้ามออกจากที่เดิมไปนี้ก็เป็นการประพฤติผิดในกามทางกายอย่างหนึ่ง.
๓. ตนเองหรือให้ผู้อื่นเข้าไปในอาคารหรือสถานที่ พื้นที่ ถนนหนทาง ที่มีเจ้าของเขาหวงแหนหรือมีเจ้าของหวงห้าม นี้ก็เป็นการประพฤติผิดในกามทางกายอย่างหนึ่ง.
๔. ตนเองหรือให้ผู้อื่นขับรถแซง เลี้ยวรถ หรือจอดรถ เป็นต้น ในเส้นทาง ตรอก ซอย ซึ่งคนผู้เป็นเจ้าของในสถานที่ หรือมีจราจรหวงห้าม นี้ก็เป็นการประพฤติผิดในกามทางกายอย่างหนึ่ง
๕. ตนเองหรือให้ผู้อื่นไปร่วมเพศกับบุคคลที่มีผู้อื่นหวงแหนหรือมีผู้อื่นหวงห้าม เช่น ไปแอบร่วมเพศ กับภรรยาหรือสามีของผู้อื่น หรือแอบร่วมเพศกับบุคคลที่มีบิดา มีมารดา มีพี่น้องชายหญิง เป็นต้น ปกครองดูแลรักษาอยู่ หรือแอบร่วมเพศกับบุคคลผู้ที่มีกฎหมาย มีจารีต ประเพณีอันดีงามคุ้มครองอยู่ เป็นต้น นี้ก็เป็นการประพฤติผิดในกามทางกายอย่างหนึ่ง
๖. ตนเองหรือให้ผู้อื่นไปร่วมเพศกับบุคคลที่ไม่มีใครหวงแหนหรือหวงห้าม เช่น ภรรยาหรือสามีของตน หรือศพ หรือสัตว์เดียรัจฉาน หรืออมนุษย์ เป็นต้น ในลักษณะ “ข่มขืน หรือขืนใจกัน” โดยเขาผู้นั้น (เฉพาะสามีหรือภรรยาตน) ยังไม่มีความพร้อมทางอารมณ์แต่อย่างใด แต่ว่าตนเองเป็นผู้ใช้กำลังข่มขืนเอาจนสำเร็จความใคร่ เป็นต้น นี้ก็เป็นการประพฤติผิดในกามทางกายอย่างหนึ่ง.

ประพฤติผิดในกามทางวาจา ดังนี้ คือ :-
๑. ตนเองหรือให้ผู้อื่นใช้วาจาพูดแทะโลม (พูดเกี้ยวพาราสีหรือพูดเลียบเคียงทางชู้สาว) พูดกระซิกกระซี้ เล่นหัวสัพยอกหยอกเย้าชวนเพลินกับหญิงหรือชาย หรือสัตว์เดียรัจฉาน หรือเทวดา อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ อมนุษย์ เป็นต้น นี้ก็เป็นการประพฤติผิดในกามทางวาจาอย่างหนึ่ง.
๒. ตนเองหรือให้ผู้อื่นใช้วาจาพูดเป็นคำพูด เป็นประโยค หรือพูดเป็นเรื่องราวที่มนุษย์ใจสูงไม่ควรจะพูด เช่น พูดคำตลก พูดคำคนอง พูดคำเยาะเย้ย คำเสียดสี คำเปรียบเทียบเปรียบเปรย ใช้ปากร้องรำร้องเพลง ร้องลิเก พูดคำบันเทิง มีการพูดเป็นหนัง เป็นละคร เป็นต้น นี้ก็เป็นการประพฤติผิดในกามทางวาจาอย่างหนึ่ง.

ประพฤติผิดในกามทางใจ ดังนี้ คือ
๑. ใจยินดีปรีดา ชวนให้เพลิดเพลินหลงไหลไปตามรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นกระแสโลกฝ่ายต่ำจนกระทั่งลืมสติสัมปชัญญะไป มีโมหะ (ความหลงผิด) ครอบงำตลอดชาติ อาจเป็นการยินดีโดยอิสระ

แสดงต่อหน้าท่านผู้ผ่านการศึกษาและปฏิบัติด้านสีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขาโดยชอบมาแล้วด้วย เมื่อ
ท่านพบเห็นการแสดงออกท่านก็จะแนะนำพร่ำสอนให้รู้และเข้าใจในสิ่งที่ตนแสดงออกมานั้น เราก็จะเกิดปัญญาสัมมาทรรศนะใหม่ นี้ก็เป็นสิกขาหรือการศึกษาอย่างหนึ่ง.
(บท) มิจฉาจารา คือความประพฤติผิด หมายถึง ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ตามหลักเกณฑ์แห่งการปฏิบัติจริงกับศีลข้อ ๓ นี้ และมีการประพฤติผิดอยู่ ๓ ลักษณะ ดังนี้

ประพฤติผิดในกามทางกาย ดังนี้ คือ :-
๑. ตนเองหรือให้ผู้อื่นไปจับต้อง ลูบคลำ เสียดสีอวัยวะของผู้อื่นที่เป็นอวัยวะมีเจ้าของหวงแหนหรือหวง ห้าม นี้ก็เป็นการประพฤติผิดในกามทางกายอย่างหนึ่ง.
๒. ตนเองหรือให้ผู้อื่นไปจับต้องหรือเคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของต่าง ๆ อันมีน้ำหนักพอจะยกเคลื่อนย้ายได้ เช่น ผ้านุ่งผ้าห่ม กระเป๋าใส่เอกสารลับ เป็นต้น ที่มีเจ้าของหวงแหนหรือมีเจ้าของหวงห้ามออกจากที่เดิมไปนี้ก็เป็นการประพฤติผิดในกามทางกายอย่างหนึ่ง.
๓. ตนเองหรือให้ผู้อื่นเข้าไปในอาคารหรือสถานที่ พื้นที่ ถนนหนทาง ที่มีเจ้าของเขาหวงแหนหรือมีเจ้าของหวงห้าม นี้ก็เป็นการประพฤติผิดในกามทางกายอย่างหนึ่ง.
๔. ตนเองหรือให้ผู้อื่นขับรถแซง เลี้ยวรถ หรือจอดรถ เป็นต้น ในเส้นทาง ตรอก ซอย ซึ่งคนผู้เป็นเจ้าของในสถานที่ หรือมีจราจรหวงห้าม นี้ก็เป็นการประพฤติผิดในกามทางกายอย่างหนึ่ง
๕. ตนเองหรือให้ผู้อื่นไปร่วมเพศกับบุคคลที่มีผู้อื่นหวงแหนหรือมีผู้อื่นหวงห้าม เช่น ไปแอบร่วมเพศ กับภรรยาหรือสามีของผู้อื่น หรือแอบร่วมเพศกับบุคคลที่มีบิดา มีมารดา มีพี่น้องชายหญิง เป็นต้น ปกครองดูแลรักษาอยู่ หรือแอบร่วมเพศกับบุคคลผู้ที่มีกฎหมาย มีจารีต ประเพณีอันดีงามคุ้มครองอยู่ เป็นต้น นี้ก็เป็นการประพฤติผิดในกามทางกายอย่างหนึ่ง
๖. ตนเองหรือให้ผู้อื่นไปร่วมเพศกับบุคคลที่ไม่มีใครหวงแหนหรือหวงห้าม เช่น ภรรยาหรือสามีของตน หรือศพ หรือสัตว์เดียรัจฉาน หรืออมนุษย์ เป็นต้น ในลักษณะ “ข่มขืน หรือขืนใจกัน” โดยเขาผู้นั้น (เฉพาะสามีหรือภรรยาตน) ยังไม่มีความพร้อมทางอารมณ์แต่อย่างใด แต่ว่าตนเองเป็นผู้ใช้กำลังข่มขืนเอาจนสำเร็จความใคร่ เป็นต้น นี้ก็เป็นการประพฤติผิดในกามทางกายอย่างหนึ่ง.

ประพฤติผิดในกามทางวาจา ดังนี้ คือ :-
๑. ตนเองหรือให้ผู้อื่นใช้วาจาพูดแทะโลม (พูดเกี้ยวพาราสีหรือพูดเลียบเคียงทางชู้สาว) พูดกระซิกกระซี้ เล่นหัวสัพยอกหยอกเย้าชวนเพลินกับหญิงหรือชาย หรือสัตว์เดียรัจฉาน หรือเทวดา อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ อมนุษย์ เป็นต้น นี้ก็เป็นการประพฤติผิดในกามทางวาจาอย่างหนึ่ง.
๒. ตนเองหรือให้ผู้อื่นใช้วาจาพูดเป็นคำพูด เป็นประโยค หรือพูดเป็นเรื่องราวที่มนุษย์ใจสูงไม่ควรจะพูด เช่น พูดคำตลก พูดคำคนอง พูดคำเยาะเย้ย คำเสียดสี คำเปรียบเทียบเปรียบเปรย ใช้ปากร้องรำร้องเพลง ร้องลิเก พูดคำบันเทิง มีการพูดเป็นหนัง เป็นละคร เป็นต้น นี้ก็เป็นการประพฤติผิดในกามทางวาจาอย่างหนึ่ง.

ประพฤติผิดในกามทางใจ ดังนี้ คือ
๑. ใจยินดีปรีดา ชวนให้เพลิดเพลินหลงไหลไปตามรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นกระแสโลกฝ่ายต่ำจนกระทั่งลืมสติสัมปชัญญะไป มีโมหะ (ความหลงผิด) ครอบงำตลอดชาติ อาจเป็นการยินดีโดยอิสระ จัดว่าเป็นการประพฤติอกุศลกรรม (กรรมชั่ว) ทางปาณาติบาต คือฆ่าไข่สัตว์ มีไข่ไก่ ไข่เป็ด เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งมีลมปราณให้ตาย ต่อไปก็จะเกิดผลเป็นแรงจูงใจบันดาลให้ประพฤติผิดในกามทางเพศ ทั้งขึ้นทั้งล่อง (เป็นผู้ทำหรืออาจเป็นผู้ถูกทำ).เหมือนข้าวเปลือกมีเชื้อสดในยุ้งฉาง แม้เราจะเก็บไว้นานหลายปีก็ไม่สามารถงอกเป็นหน่อ ลำต้น เพื่อออกผลได้ เพราะขาดปัจจัยคือน้ำและตมมาสนับสนุนตัวเหตุคือเชื้อสด อันนี้ก็เป็นความจริงหนึ่ง.
ดูอีกมุมซิ ! ข้าวเปลือกที่คนนึ่งสุกดีแล้ว จึงนำไปหว่านลงในน้ำ ตม มีสิ่งแวดล้อมพอเหมาะพอดี เชื่อแน่ว่าไม่สามารถงอกเป็นหน่อ ลำต้น เพื่อออกผลได้เช่นกัน เพราะขาดเหตุคือตัวลมปราณ หรือเชื้อสดไป แม้จะมีน้ำ ตม และสิ่งแวดล้อมเหมาะสมดีอย่างไรก็ย่อมเกิดไม่ได้ นี้ก็เป็นความจริงหนึ่ง.
ดูอีกมุมบ้าง ! ข้าวเปลือกมีลมปราณหรือเชื้อสดด้วย และถูกหว่านลงในน้ำ ตม ที่มีสิ่งแวดล้อมเหมาะสมดีด้วย ใส่ปุ๋ยอย่างดีลงไปด้วย เจ้าของหมั่นตรวจสอบดูแลรักษาอย่างดีด้วย ข้าวย่อมสามารถงอกเป็นหน่อ มีลำต้น เพื่อออกผลใหม่ได้เป็นอย่างดีมีปริมาณมากมหาศาลด้วย นี้ก็เป็นความจริงหนึ่ง.
กรณีของคนในโลกผู้จะประพฤติผิดในกามทั้งหลายทั้งทางกาย วาจา และทางใจได้นั้น ขึ้นอยู่กับอดีตเหตุซึ่ง -เป็นเชื้อทาง “กรรมพันธุ์” มาเป็นทุนหรือเป็นเหตุเดิมร่วมกับปัจจัยปัจจุบัน (กามคุณห้า) คือนิยมทำปาณาติบาตกับไข่สัตว์มีไข่ไก่ ไข่เป็ด เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่มีลมปราณ “มีเชื้อชีวิต” มารับประทานเป็นอาหารหลักในชีวิตประจำวัน เมื่อมีเหตุและปัจจัยคลุกเคล้าเข้ากันสมส่วน เป็นตัวอกุศลกรรม (กรรมชั่ว) เต็มที่และสมบูรณ์แล้ว ก็ย่อมเกิดผลเป็นแรงจูงใจดลบันดาลให้ประพฤติผิดในกามทางเพศหลายรูปแบบ ทั้งแบบทำกับเขาและถูกเขาทำกับเราได้ทั้งนั้น โดยไม่มีเทวดา ฟ้า ดิน ไหน ๆ จะมาระงับยับยั้งเขาได้เลย กรุณาตรวจสอบข้ออุปมากับข้าวเปลือกให้ดี ๆ จะเข้าใจชัดเจน
คนใดไม่มีอดีตเหตุซึ่งเป็นกรรมพันธุ์ให้ประพฤติผิดในกามทางเพศ ไม่ติดเชื้อมาจากบรรพบุรุษมีบิดามารดา เป็นต้น แล้ว ถึงแม้จะประสบกามคุณห้า โดยเฉพาะไข่สัตว์ มีไข่ไก่ ไข่เป็ด เป็นต้น ที่มีลมปราณ (ซึ่งเป็นตัวปัจจัย) ซ้ำ ๆ ซาก ๆ ก็ตาม เชื่อแน่ว่าคนผู้นั้นไม่ชอบ ไม่นิยม และไม่ยินดีรับประทานไข่สัตว์เป็นอาหารหลักได้ เพราะเชื้อประพฤติผิดในกามซึ่งเป็นอดีตเหตุคือกรรมพันธุ์ไม่มี เหมือนเมล็ดข้าวเปลือกที่บุคคลนึ่งสุกมีลมปราณหรือเชื้อสดตายแล้ว แม้จะคลุกเคล้ากับปัจจัยคือน้ำตมก็ไม่เกิดผลได้
มีเหตุแต่ขาดปัจจัยก็ดี หรือมีปัจจัยแต่ขาดเหตุก็ดี คนย่อมประพฤติผิดในกามทั้งหลายไม่ได้ แม้จะมีแสงสีหรือมีสิ่งแวดล้อมอันเป็นตัวยั่วยวนขนาดไหนก็ตามทำไม่ได้แน่ นี้ก็เป็นกฎแห่งความจริงหนึ่ง.
เหตุคือเชื้อกรรมพันธุ์มีอยู่ด้วย ปัจจัยคือกามคุณห้า (ไข่สัตว์) ก็มีอยู่พร้อมสรรพ บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมก็อำนวยด้วย คนเช่นนั้นก็ย่อมมีโอกาสประพฤติผิดในกามทั้งหลายได้โดยง่ายดาย ประพฤติได้ทั้งทางกาย วาจา ใจ ด้วย ที่สุดก็ย่อมได้รับผลเป็น อกุศลวิบาก (ผลชั่ว) เป็นระยะ ๆ ไป นี้ก็เป็นกฎแห่งความจริงหนึ่ง.

วิบากหรือผลกรรมจากการประพฤติผิดในกาม (ประพฤติชั่วเป็นเอกทางเพศสัมพันธ์)
กมฺมุนา วตฺตตี ปชา. แปลว่า หมู่สัตว์ (คนด้วย) ย่อมเป็นไปตามกรรมที่ตนทำ (กุศลกรรม กรรมดีได้ผลดี อกุศลกรรม กรรมชั่วได้ผลชั่ว อัพยากตกรรม กรรมไม่ดีไม่ชั่ว ก็ได้ผลพ้นดีพ้นชั่ว) กล่าวคือ คนผู้ประพฤติชั่วเป็นเอกทางเพศสัมพันธ์นั้น ย่อมมีเหตุและปัจจัยในชีวิตเขา (พันธุกรรม + ปาณาติบาตไข่สัตว์)


การประพฤติผิดในกามทางเพศเป็นอาจิณนั้น (ชอบหรือไม่ชอบก็ตาม) จัดเป็นอกุศลกรรม (กรรมชั่ว) ระดับเอกในด้านนี้ ดังนั้น ผลชั่วจะออกมาใน ๒ ลักษณะ คือ :-

๑. เป็นผลชั่วอย่างลึกลับ ปรากฏทางจิตใจ ทางอารมณ์ ทัศนคติ หรือทิฐิ คือ ความคิดความเห็นนั้นย่อมตกต่ำลงไปสู่อบายโลก -(โลกแห่งจิตใจของคนผู้ไม่มีความเจริญ) หรืออบายภูมิ ๖ ประเภท (ตำราว่า มี ๔) เพิ่มอมนุษย์และมารเข้ามาจึงเป็น ๖ คือ :-
ก. จิตใจเหมือนสัตว์นรก และนรกนั้นมี ๔๕๗ ขุม นับจำนวนสัตว์นรกคือคนผู้มีจิตใจตกต่ำไม่ได้ เพราะมีมากมาย นี้ก็เป็นผลลึกลับของการประพฤติผิดในกามอย่างหนึ่ง.
ข. จิตใจเหมือนเปรต และมีเปรตอยู่ประมาณ ๒๕ จำพวกขึ้นไป (มากกว่า ๒๕ จำพวก) นี้ก็เป็นผลลึกลับของการประพฤติผิดในกามอย่างหนึ่ง.
ค. จิตใจเหมือนเดียรัจฉาน และมีเดียรัจฉานอยู่ ๔ จำพวกคือ สัตว์สองเท้า สี่เท้า เท้ามาก และสัตว์ไม่มีเท้า นี้ก็เป็นผลลึกลับของการประพฤติผิดในกามอย่างหนึ่ง.
ฆ. จิตใจเหมือนอสุรกาย มีจำพวกเดียว คือพวกไม่กล้าประพฤติกุศลกรรม คือ กรรมดี ไม่กล้าเว้นอกุศลกรรม คือ กรรมชั่ว เพราะมีความหลงผิดในกรรมชั่วคืออกุศลกรรมว่าเป็นกรรมดี ที่ตนทำอยู่นี้ดีที่สุดแล้ว และหลงผิดในกรรมดีคือกุศลกรรมว่าเป็นกรรมชั่ว ที่ตนไม่กล้าทำแล้ว เป็นต้น นี้ก็เป็นผลลึกลับของการประพฤติผิดในกามอย่างหนึ่ง.
ง. มีจิตใจเหมือนอมนุษย์ คือเป็นคนไม่ใช่มนุษย์ โดยเฉพาะอมนุษย์จำพวกคนธรรพ์ (ผู้มีนิสัยสำส่อนทางเพศ) และมีอมนุษย์อยู่อย่างน้อย ๑๒ จำพวกขึ้นไป นี้ก็เป็นผลลึกลับของการประพฤติผิดในกามอย่างหนึ่ง.
จ. มีจิตใจเหมือนพญามาร คือ เป็นคนชอบล่อลวงให้ผู้อื่นตายใจด้วยเล่ห์กล หรืออุบายต่าง ๆ เพื่อ ให้เขาหลงกลแล้วก็ผลาญทรัพย์สินเขาบ้าง ผลาญพรหมจรรย์เขาบ้าง ผลาญชีวิตเขาบ้าง เป็นต้น นี้ก็เป็นผลลึกลับของการประพฤติผิดในกามอย่างหนึ่ง

๒. เป็นผลชั่วอย่างเปิดเผย ปรากฏออกมาทางตัวบุคคลผู้เกี่ยวข้อง เช่น :-
ก. กดดันให้สามีหรือภรรยา หรือคู่รักกันปานจะกลืนของหนุ่มสาวคู่นั้นประพฤตินอกใจ ทำให้หวาด ระแวง ทะเลาะวิวาท ชก ต่อย ตบตี เกิดปัญหาหย่าร้าง หรืออาจเกิดรักสามเส้าขึ้นมา ที่สุดอาจถึงทำอัตต-วินิบาตกรรม หรือทำฆาตกรรมซึ่งกันและกันแล้วชำแหละชิ้นส่วนเพื่ออำพรางคดี เป็นต้น ก็ได้ เหตุการณ์เช่นนี้ไม่มีใครอยากประสบ แต่กรรมชั่วด้านกาเมสุมิจฉาจารดลบันดาลให้เป็นไป นี้ก็เป็นผลเปิดเผยของการประพฤติผิดในกามอย่างหนึ่ง.
ข. ผลขยายออกไปหน่อย คือ อาจเกิดเรื่องทางเพศกับคนไกลจากสามีภรรยาหน่อย (ชาย - หญิง) คือกับคนงาน หรือลูกจ้าง เลขานุการ เลขานุการิณี หรือคนใช้ในบ้าน หรือญาติพี่น้องผู้ใกล้ชิด ถูกลวนลามทางเพศในลักษณะถูกข่มขืนกระทำชำเราบ้าง หรือเป็นผู้ไปทำการข่มขืนกระทำชำเราเขาบ้าง หรือถูกโจ๋รุมโทรมขืนใจเป็นหมู่บ้าง เป็นต้น นี้ก็เป็นผลเปิดเผยของการประพฤติผิดในกามอย่างหนึ่ง.
ค. ผลปรากฏแก่ลูกสาวหรือลูกชายโดยตรง คือ หญิงถูกล่อลวงไปขายในซ่องนางโลมบ้าง หรือเป็นตัว
การหาล่อลวงหญิงไปขายในซ่องบ้าง หรือตนเองสมัครใจยินดีขายตัวเพื่อแลกกับเงินตราบ้าง เพื่อความ

(๑๑)
สนุกสนานโดยตรง ๆ บ้าง หรืออาจถึงขนาดประกอบอาชีพเป็นคนหากินกลางคืนระดับเจ้าของผู้จัดการสถานบันเทิงต่าง ๆ หรือเป็นระดับแม่เล้า แมงดา นางโลม แม่สื่อ เป็นต้น นี้ก็เป็นผลเปิดเผยของการประพฤติผิดในกามอย่างหนึ่ง
ฆ. ผลปรากฏโดยตรงกับลูกสาวหรือลูกชายของตน คือ จะได้ลูกเกิดมาเป็นคนมีเพศวิบัติ (สีลวิบัติ ผิดศีลข้อกาเมสุมิจฉาจาร) ได้แก่ เพศกะเทย คือหญิงหรือชายประเภทสองนั้นเอง มีคนแยกส่วนเพศนี้ว่า เกย์บ้าง เกย์คิงบ้าง เกย์ควีนบ้าง ตุ๊ดบ้าง ดี้บ้าง ทอมบ้าง ทอมบอย (tomboy) บ้าง เป็นต้น แต่ทางพระเรียกว่า “บัณเฑาะก์” หรือ “กะเทย” จัดว่า เป็นอภัพพบุคคล คือ ผู้ไม่ควรปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานสายตรง เพื่อบรรลุถึงมรรค ผล นิพพานได้ ท่านจึงบัญญัติวินัยไว้ว่า อุปัชฌาย์ไม่ควรบวชให้ นี้ก็เป็นผลเปิดเผยของการประพฤติผิดในกามอย่างหนึ่ง.
ง. ตัณหา ซึ่งเป็นเจตสิกของคนประเภทนี้ ย่อมจะส่งผลกระทบไปถึงจิตใจ อารมณ์ ทัศนคติ และจะถูกบันทึกเป็นกามาสวะไว้ใน DNA (ดีเอ็นเอ) หรือ deoxyri bonucleic acid (กรดดีออกซีไร โบนิวคลีอิก อะชิด) ซึ่งเป็นสารหรือแก่นพันธุกรรมของคนพรรค์นี้ สำหรับทำหน้าที่กำหนดลักษณะในการแสดงออกทางเพศวิบัติ “กะเทย” ดังกล่าวแล้วนั้น เพื่อสืบเผ่าพันธุ์เป็นมรดกตกทอดถึงลูก หลาน เหลน โหลน…ต่อ ๆ ไปในโลกให้ยาวนานไม่มีที่สิ้นสุด และนับวันคนประเภทนี้จะเพิ่มทวีคูณขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากเหตุ และปัจจัยอันเป็นตัวนำให้คนประพฤติผิดในกามทั้งหลายก็เพิ่มขึ้นมากมายทวีคูณ เป็นเงาตามตัว เพราะโครงสร้างทางการศึกษาเพื่อให้คนได้รู้และเข้าใจชีวิตหรือพฤติกรรมตามรูปแบบ “สิกขาปะทัง” หรือรูปแบบ “ไตรสิกขา” จริง ๆ นั้นถูกเหยียบย่ำหรือย่ำยีด้วยปริยัติศึกษาหมด และหมู่คนผู้จบปริยัติก็สามัคคีกันเปล่งอุทานออกมาว่า ข้า ฯ คือผู้รักเคารพและหวงแหน พุทธศาสนา เป็นอย่างยิ่งและแท้จริง ! เป็นต้น นี้ก็เป็นผลเปิดเผยของการประพฤติผิดในกามอย่างหนึ่ง.
จ. เมื่อกรรมชั่วคือการประพฤติผิดในกามทางเพศตามทันเข้า ณ ที่แห่งใดก็ตาม เขาผู้ประพฤติกรรมนั้นอาจถูก ฆาตกรรมบ้าง อาจเป็นฆาตกรฆ่าเขาบ้าง อาจทำอัตตวินิบาตกรรมบ้าง อาจประสบอุปัตติภัยในท้องถนนบ้าง อาจมีโรคร้าย เช่น “เอดส์” เป็นต้น เข้าแทรกแซงชีวิตได้บ้าง นี้ก็เป็นผลเปิดเผยของการประพฤติผิดในกามอย่างหนึ่ง.
ฉ. คนผู้ประพฤติผิดในกามทางเพศเป็นอาจิณก็ดี หรืออาจประพฤติผิดในกามด้านอื่น ๆ เป็นอาจิณก็ดี ถ้าหากไม่ได้รับผลกรรมตามที่กล่าวมาแล้วนั้น เขาจะเกิดมาเป็นคนหมัน (หญิงหมัน ชายหมัน) นี้ก็เป็นผลเปิดเผยของการประพฤติผิดในกามอย่างหนึ่ง.
ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎก เล่ม ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ข้อ ๒๗๔ พระพุทธองค์ทรงแสดง อลคัททูปมสูตร สูตรว่าด้วย (โทษในกาม) อุปมากับอสรพิษ ๑๐ ประการ คือ :-

๑. อฏฺฐิกงฺขลูปมา กามารมณ์เปรียบด้วยร่างกระดูก คือร่างกระดูกนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่สุนัขบ้านและสุนัขป่ายินดีเข้า
ไปแทะเลียอย่างเอร็ดอร่อยเป็นอย่างยิ่งโดยไม่รู้จักอิ่ม ฉันนั้นเหมือนกัน กามารมณ์ทั้งหลายก็ เป็นที่ยินดีของปุถุชน และปุถุชนทั้งหลายก็เสพกามารมณ์เหล่านั้นอย่างเอร็ดอร่อยโดยไม่รู้จักอิ่ม ฉันนั้นเหมือนกัน ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ร่างกระดูกไม่มีเนื้อพอที่จะทำให้สุนัขอิ่มได้ แต่สุนัขก็ยังชื่นชมยินดีต่อร่างกระดูกอยู่ เพราะในขณะที่มันนอนแทะร่างกระดูกอยู่นั้น
ก็มีน้ำลายไหลออกมาไม่ขาดระยะจึงรู้สึกเอร็ดอร่อยเรื่อย ๆ แม้กามารมณ ์ก็ไม่มีจุดไหนที่พอจะทำให้ปุถุชนอิ่มได้ฉันนั้นเหมือนกัน

๒. มํสเปสูปมา เปรียบด้วยชิ้นเนื้อ คือชิ้นเนื้อนั้นย่อมเป็นสิ่งที่สัตว์ทั้งหลาย มีแร้งกา เป็นต้น ยื้อแย่งกัน เมื่อสัตว์มีกา เป็นต้น คาบชิ้นเนื้อไปได้ สัตว์อื่นหรือกาตัวอื่นย่อมบินตามเพื่อแย่งเอาชิ้นเนื้อนั้นมาเป็นของตน ฉันใด คนผู้ใดได้กามารมณ์ไปหรือมีกามารมณ์อยู่ในครอบครอง ผู้นั้นก็ย่อมถูกบุคคลอื่นคิดยื้อแย่งกามารมณ์นั้นไปเป็นของเขา เหมือนกัน
๓. ติณุกฺกูปมา เปรียบด้วยคบเพลิง คือผู้ใดถือคบเพลิงไปในที่ทวนลมจะทำให้คบเพลิงนั้นหวนกลับมาไหม้ผู้ถือได้ ฉันใด ปุถุชนท่านใดยึดติดอยู่ในกามารมณ์ ปุถุชนท่านนั้นย่อมถูกกามารมณ์หวนกลับมาเผาลนจิตใจให้เร่าร้อน ฉันนั้นเหมือนกัน
๔. องฺคารกาสูปมา เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง คือผู้ใดตกลงไปในหลุมถ่านเพลิง ผู้นั้นจะต้องตายหรือได้รับทุกข์แทบตาย เช่นเดียวกับคนผู้ตกอยู่ในอำนาจกามารมณ์ คือความรักใคร่พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะแล้ว ผู้นั้นย่อมจะได้รับทุกข์อันใหญ่หลวง มีทุกข์ในการตากฝนทนแดด เป็นต้น และตกลงสู่มหานรกเป็นที่สุด ฉันนั้นเหมือนกัน
๕. สุปินกูปมา เปรียบเหมือนความฝัน คือสิ่งที่ฝันเห็นในเวลานอนหลับนั้น แต่พอตื่นขึ้นสิ่งนั้นก็พลันหายไปไม่จีรังยั่งยืนได้หรือไม่มั่นคงถาวร ฉันใด กามารมณ์ที่ปุถุชนรักใคร่หวงแหนนักหนานั้นก็เป็นสิ่ง
ที่ไม่ยั่งยืนอยู่ได้นาน ไม่ช้าก็จะกลับกลายเป็นของน่าเกลียดหรือพลัดพรากจากไปในที่สุด ฉันนั้น เหมือนกัน
๖. ยาจตกูปมา เปรียบเหมือนของที่ขอหรือยืมเขามา คือ จะต้องส่งคืนเจ้าของเขาโดยเร็ว ฉันใด ธรรมดากามารมณ์ทั้งหลายก็ย่อมจะหายไปโดยเร็ว ฉันนั้นเหมือนกัน
๗. รุกขผลูปมา เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีผล คือ เมื่อต้นไม้ต้นใดปรากฎว่ามีผลเต็มต้นอยู่ ต้นไม้ต้นนั้นจะต้องถูกหักกิ่งก้านรานใบเพื่อเอาผล ฉันใด คนผู้มีกามารมณ์ เช่น บุตร ภรรยา สามี สัตว์ ๒ เท้า ๔ เท้า เท้ามาก หรือสัตว์ไม่มีเท้า หรือมีทรัพย์สินอื่น ๆ เช่น เงินหรือธนบัตร ทองคำรูปพรรณ เป็นต้นย่อมจะต้องมีผู้เป็นศัตรูคู่อาฆาตคิดเบียดเบียน มีความพยายามทำโจรกรรม เป็นต้น อันเป็นเหตุนำมาซึ่งความทุกข์กายทุกข์ใจต่าง ๆ แก่คนผู้ถูกเบียดเบียนนั้น เหมือนกับต้นไม้ที่มีผล ฉันนั้นเหมือนกัน
๘. อสิสูนูปมา เปรียบเหมือนเขียงสับเนื้อ คือ เขียงสับเนื้อย่อมกร่อนไปเรื่อย ๆ เพราะถูกคนนำไปเป็นอุปกรสำหรับรองสับเนื้อบ่อย ๆ ฉันใด ท่านผู้ติดอยู่ในกามารมณ์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับรองรับความทุกข์กายและใจ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
๙. สัตติสูลูปมา เปรียบเหมือนหอกและหลาวเหล็ก คือ หอกแหลมหลาวนั้นย่อมเป็นสิ่งที่นำไปแทงสัตว์ทั้งหลายให้ตาย หรือให้ได้รับทุกขเวทนากล้า ฉันใด กามารมณ์ก็เป็นสิ่งที่ทิ่มแทงสัตว์โลกผู้เป็นปุถุชนอยู่ให้ถึงความตาย หรือทิ่มแทงให้ได้รับทุกขเวทนากล้า ฉันนั้นเหมือนกัน
๑๐. สัปปสิรูปมา เปรียบเหมือนหัวงู คือ ธรรมดาพิษของงูย่อมมีอยู่ที่ศีรษะก่อน แล้วจึงหลั่งไหลไปตามเขี้ยวสำหรับขบกัดสัตว์อื่นให้ถึงแก่ความตาย หรือให้ได้รับทุกข์แทบตาย ฉันใด กามารมณ์ก็ย่อมเป็นสิ่งที่มีพิษสงสำหรับขบกัดปุถุชนผู้ติดอยู่ให้ตาย หรือให้ได้รับทุกข์แทบตาย ฉันนั้นเหมือนกัน
และในสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ข้อ ๒๓๗ พระองค์ทรงแสดงอนุปุพพิกถา คือ การกล่าวธรรมคำสั่งสอนไปตามลำดับ มีอยู่ ๕ ลำดับ ในลำดับที่ ๔ กล่าวถึงโทษแห่งกามไว้ว่า ทำให้จิตใจเศร้า
หมองไม่ผ่องใสด้วย และอนุปุพพิกถา ๕ นั้น คือ

(๑) ทานกถา กล่าวถึงการทานก่อน โดยมีการทานอยู่ ๓ ลักษณะ คือ ทานปารมี ทานวัตถุสิ่งของที่ ควรทาน เช่น ปัจจัย ๔ เป็นต้น ทานอุปปารมี ทานด้วยการเสียสละหรือปลีกตัวออกจากสิ่งที่ไม่ดี ด้วยวิธีการงดเว้นให้ห่างไกล เช่น งดเว้นจากการเกี่ยวข้องกับอบายมุข ๖ อย่าง มีงดเว้นจากการเล่นการพนันเลี้ยงชีพ เป็นต้น และอกุศลกรรม ๑๐ อย่าง มีงดเว้นจากการทำปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์) เป็นต้น และ ทานปรมัตถปารมี ทานรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิด ความโลภ ความโกรธ และความหลงอย่างใหญ่หลวง ทานด้วยวิธีการ ตั้งสติ กำหนด บริกรรม ภาวนา ตามหลักวิปัสสนากัมมัฏฐานสายสัมมาปฏิบัติ จะได้มีจิตเป็นอุเบกขา คือ ไม่ยินดีและไม่ยินร้ายต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ การไม่ยินดีไม่ยินร้ายนี้เองเรียกว่า ทานปรมัตถปารมี

(๒) สีลกถา กล่าวถึงการปฏิบัติศีล ศีลอันเป็นศีลที่ดีที่ให้ผู้ปฏิบัติตามบรรลุถึงความเป็นพระอริย-บุคคล ที่เรียกว่า “อริยกันตศีล” หรือศีลที่พระอริเจ้าต้องการ คือ ปฏิบัติศีลไม่ให้ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย และปฏิบัติศีลให้เป็นไท วิญญูชนสรรเสริญ ไม่ลูบ ๆ คลำ ๆ ศีลด้วยตัณหาและทิฎฐิ และปฏิบัติศีลให้ เป็นไปเพื่อสมาธิ คือ สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบด้วย

ในหนังสือปัญจมสมันตปาสาธิกา
อรรถกถาพระวินัย ปริวาร วัณณนา ข้อ ๔๘๕ ถึง ๔๘๖ แก้ไว้ว่า “อริยกันตศีล” นั้น ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าพอใจแล้ว ได้แก่ ศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย และปฏิบัติศีลให้เป็นไท (อิสระ)
๑. อขัณเฑหิ โดยไม่ขาด หรือไม่ด้วน กล่าวคือ ศีล ๕ ก็ดี ๘ ก็ดี ๑๐ ก็ดี หรือศีลของภิกษุคืออาบัติ ๗ กองก็ดี ซึ่งเป็นข้อศีลอันตนควรปฏิบัติก็ปฏิบัติแล้วเกิดเป็นคุณแก่ตนนั้น มีการปฏิบัติได้ไม่ครบจำนวน ขาดสลายไปในข้อเบื้องตนหรือเบื้องปลายก็ตาม ชื่อว่า ศีลของท่านนั้น ๆ ขาดหรือด้วนไปแล้ว เปรียบเหมือนผ้าขาดหรือด้วนที่ชายโดยรอบ ฉะนั้น
๒. อัจฉิทเทหิ โดยไม่ทะลุ คือ จำนวนข้อศีลของเขาทั้งหมดถูกทำลายเสียตรงข้อกลาง ไม่ใส่ใจในการปฏิบัติ ดังนั้น ศีลของเขาจึงชื่อว่า “ทะลุ” เปรียบเหมือนผ้าที่เป็นช่องทะลุตรงกลาง ฉะนั้น
๓. อสพเลหิ ศีลไม่ด่าง คือจำนวนข้อศีลของเขาทั้งหมดนั้น ถูกทำลายไปเสีย ๒ ข้อหรือ ๓ ข้อ ตามลำดับ โดยเขาไม่ใส่ใจต่อการปฏิบัติ ดังนั้น ศีลของเขาจึงชื่อว่า“ด่าง”เปรียบเหมือนแม่โคมีสีตัวดำและแดง เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งและสลับกับสีซึ่งไม่เหมือนกันที่ผุดขึ้นบนหลังหรือใต้ท้อง ฉะนั้น
๔. อกัมมาเสหิ ศีลไม่พร้อย คือ จำนวนข้อศีลของเขาทั้งหมดนั้น ถูกทำลายเสียในระหว่าง ๆ แต่ไม่ใช่ ถูกทำลายเรียงลำดับข้อ หรือไม่ถูกทำลายในข้อเบื้องต้นและข้อเบื้องปลาย โดยเขาไม่ใส่ใจต่อการปฏิบัติในส่วนนั้น ดังนั้นศีลของเขาจึงชื่อว่า “พร้อย”
(๓) สัคคกถา กล่าวถึงสวรรค์ สวรรค์ คือ เทวโลก อันเป็นโลกของคนผู้มีจิตใจ อารมณ์ และมีทัศนคติอันดีเลิศ ซึ่งเป็นผลกรรมส่วนที่ดีของกาม ที่จะพึงได้รับในชาติปัจจุบันเมื่อตนประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรม ๒ ข้อเบื้องต้นนั้น คือ ยินดีในการสละทาน โดยเลือกทานแต่เฉพาะที่เป็นเนื้อนาบุญของโลก และยินดีในการประพฤติปฏิบัติศีลตามฐานะของตน คือ เจตนางดเว้นจากการทำปาณาติบาต (ไม่นิยมฆ่าสัตว์) เป็นต้น และปฏิบัติให้สม่ำเสมอต่อเนื่องกันไปตลอดชีวิต ไม่ให้ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท

๔) กามาทีนะวะกถา กล่าวถึงโทษแห่งกาม โทษแห่งกาม คือ อบายโลก (อบายโลก คือ นรก เปรต เดียรัจฉาน อสุรกาย อมนุษย์ มาร) อันเป็นโลกของคนผู้มีจิตใจ อารมณ์ และมีทัศนคติที่เสื่อมหรือไม่เจริญ ซึ่งเป็นผลกรรมส่วนไม่ดีของกาม ที่จะ พึงได้รับในชาติปัจจุบัน เมื่อตนประพฤติปฏิบัติตรงกันข้ามกับธรรม
๒ ข้อเบื้องต้นนั้น คือ ตนก็ไม่ยินดีในทานและก็ไม่แนะนำให้ผู้อื่นทำทาน สะสมแต่ความตระหนี่ตลอดชาติ และปฏิบัติตนให้ล่วงละเมิดศีล มีความจงใจหรือเจตนาทำปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) เป็นต้น อยู่ตลอดชีวิต ดังนั้น จึงได้รับโทษจากการบริโภคกาม คือ ตกนรก เป็นต้น
(๕) เนกขัมมานิสังสะกถา กล่าวถึงอานิสงส์แห่งการออกบวช อานิสงส์แห่งการออกบวชหรือออกจากกาม (ออกจากกาม ๓ หลัก คือ ทัศนะ ภาวนา การแสดงออก) เมื่อคนผู้ใดออกจากกามได้แล้ว ย่อมสามารถฟัง อ่าน เข้าใจซึ่งอริยสัจ ๔ ได้โดยไม่ยาก โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในสัตถุศาสตร์แบบจดจำ เหมือนกูฏทันตะพราหมณ์ ที่ฟังพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม เรื่อง อนุปุพพิกถา ๕ ในครั้งนั้น ก็เลิกละการบูชายัญรูปแบบของพราหมณ์ มาบูชายัญคือ ทำทานเป็นนิจ ปฏิบัติศีลเป็นนิจ ปฏิญาณตนเป็นอุบาสกตลอดชีวิต แล.
ท่านสาธุชนทั้งหลาย โปรดตรองดูหลักฐานและเหตุผลให้ดี ๆ เถิด แต่อย่าให้เป็นเหตุผลข้าง ๆ คู ๆ ถู ๆ ไถ ๆ ก็แล้วกัน จะได้ทราบความจริงตามแนวทางปฏิบัติ ในศีลข้อ ๓ ว่า กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขา ปะทัง สะมาทิยามิ.
แปลว่า ข้าพเจ้า ย่อมสมาทานเอา ซึ่งบทธรรมอันตนพึงศึกษาให้ดี คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ดังนี้.

วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553

thammiga ตอบปัญหาข้อที่ 2

"ในปัจจุบันเยาวชนบางคนถือว่า การมีเพศสัมพันธ์(ก่อนแต่งงาน) ถือว่า เป็นเรื่องธรรมดา ไม่ได้เสียหายอะไร หากคนทั้งสอง (คู่นอน) เขาพร้อมใจกัน อะไรเป็นสาเหตุให้เยาวชนบางคนเป็นเช่นนี้"
ลักษณะของคำว่า เหตุผล
คำว่า “เหตุผล” เหตุ + ผล = เหตุผล หมายถึง การที่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งก่อตัวปรากฏขึ้นนั้น ย่อมมีสาเหตุให้สิ่งนั้นเกิดเป็นผลปรากฏขึ้นมา หรืออาจจะกล่าวว่า สิ่งนี้เกิดปรากฎขึ้นมาแล้วจะเป็นสาเหตุให้เกิดเป็นผลต่อ ๆ ไปในภายหน้า
เมื่อคำจำกัดความของ “ เหตุผล” ออกมาในลักษณะเช่นนี้แล้ว ผู้ทำการวิเคราะห์ วิจัย วิจารณ์ พิจารณา เพื่อให้ได้ข้อสรุปลงในหลักแห่งความเป็นจริงของสิ่งนั้น ๆ ควรจะมีหลักอะไรมายืนยันจึงยะเป็นข้อยุติได้ เนื่องจากว่า สิ่งที่เกิดปรากฏขึ้นมานั้น ย่อมเป็นไปได้ทั้งตัวเหตุและทั้งตัวผลอยู่ในตัวเดียวกัน
พุทธศาสนา หรือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ในธรรมวิภาค ปริเฉทที่ ๒ หลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นโท ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส มหามกุฏราชวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ ๓๔/๒๕๒๗ มีอยู่ในหน้า ๓ ความว่า เทสนา ๒ อย่าง คือ
๑. ปุคคลาธิฏฐาน มีบุคคลเป็นที่ตั้ง
๒. ธัมมาธิฏฐาน มีธรรมเป็นที่ตั้ง (บอกที่มาว่า สทฺ ปฏิ.๗๗.)
เทสนามีบุคคลเป็นที่ตั้ง ได้แก่ ความหมาย ประโยชน์ หรือเหตุผลที่เป็นไปตามหลักแห่ง “ภาษาคน” หรือความหมายตามหลักแห่งภาษาหนังสือ ปริยัติ พระสูตร พระวินัย เป็นภาษา
แห่งสุตามยปัญญาบุคคล จินตามยปัญญาบุคค เช่น คำว่า ประโยชน์ เหตุผล ที่เป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์ หลักจิตวิทยา หลักปรัชญา หลักสังคมศาสตร์ หลักสังคมวิทยา เป็นต้น เรียกว่า “บุคคลาธิฏฐาน” คือ เหตุผลตามหลักแห่งภาษาคน นำมาปฏิบัติไม่ได้ ถ้าได้ก็ไม่มีที่ยุติ
เทสนามีธรรมเป็นที่ตั้ง ได้แก่ ความหมาย ประโยชน์ หรือเหตผล ที่เป็นไปตามหลักแห่ง
“ภาษาธรรม” หรือความหมายตามหลักแห่งภาษาจิต ภาษาปฏิบัติ ซึ่งเป็นภาษาแห่งภาวนามยปัญญาบุคคล เป็นการปฏิบัติได้จริง แต่ที่จารึกไว้ในพระไตรปิฎก จะมีใช้เฉพาะคำว่า “เหตุปัจจัย” หรือ คำว่า “เหตุ” หรือ คำว่า “กรรม คือ เหตุ วิบาก คือ ผล” เท่านั้น แต่จะมีความหมายต่างกันกับคำว่า “เหตุผล” ที่สุตามยปัญญาบุคคล และจินตามยปัญญาบุคคลนำมาใช้พูดกันโปรดไตร่ตรองให้ดี
เหตุผลตามหลักภาษาธรรม (เป็นความจริง)
ภาษาธรรม เช่น คำถามที่อุปติสสมาณพถามพระอัสสชิ ในสุตตันตปิฎก ฉบับภาษาไทย เล่ม ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ ข้อ ๓ ข้อความที่พระอัสสชิตอบมาณพว่า “ธรรมเหล่าใด มีเหตุเป็นแดนเกิดว่า พระตถาคตเจ้าตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้นและความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณเจ้ามีปรกติตรัสอย่างนี้” (สรุปว่า มีเหตุและปัจจัย จึงจะเกิดเป็นผล)
๑. (เหตุ) การที่เยาวชน (ลูกคน) คิดมีเพศสัมพันธ์กันก่อนแต่งนั้น มีเหตุเป็นแดนเกิด คือ
มีกรรมชั่วเป็นเผ่าพันธุ์รับมรดกจากมารดาบิดา ได้เป็นทุนมาเกิดในท้องแม่ผู้มีเพศสัมพันธ์กับคนที่มิใช่มนุษย์ ๖ เผ่าพันธุ์ก่อน คือ
(๑) คนสัตว์นรก
(๒) คนเปรต
(๓) คนเดียรัจฉาน
(๔) คนอสุรกาย
(๕) คนอมนุษย์
(๖) คนมาร
โปรดตรวจตราดูสัตว์เดียรัจฉานบางประเภทที่เราท่านเห็นกันอยู่ เช่น สุนัข แมว วัว ควาย
เป็นต้น ทั้งที่มีคนเลี้ยงและไม่มีคนเลี้ยง จะมีเพศสัมพันธ์กันอย่างหน้าเฉย ไม่แยแสว่า ใครจะมามุงดูหรือไม่ดู เพราะเป็นความปรกติธรรมดาของเขา ฉันใด คนเผ่าพันธุ์เดียรัจฉาน เป็นต้น ก็ฉันนั้น (นี้ คือ สาเหตุจริง และมีปัจจัยมาสนับสนุนด้วย)
๒. (ปัจจัย) ในข้อแรกบอกว่า มีสาเหตุอยู่เกิดกับคนเผ่าพันธุ์ที่ไม่ใช่มนุษย์ พอมาถึงข้อ
สอง คือ มีปัจจัยมาสนับสนุนก่อน หรือกรรมสนับสนุน เช่น ทำปาณาติบาต คือ ฆ่าสิ่งที่มีชีวิตบ้าง (ฆ่าสัตว์มีชีวิต) ฆ่าสิ่งมีลมปราณบ้าง (ฆ่าไข่สัตว์) ฆ่าโดยตรงก็มี ฆ่าโดยปริยายก็มี ฆ่าด้วยตนเองก็มี ใช้ให้คนอื่นฆ่าก็มี หรือผู้อื่นฆ่าเจาะจงนำมาให้เราก็มี(โดยเฉพาะการทุบหรือฆ่าไข่เป็ด ไข่ไก่ที่สดอยู่ เป็นต้น เป็นกรรมปัจจัยสนับสนุน)
๓. (ผล) ผลที่ได้รับต่อเนื่องมาจากเหตุและปัจจัย (เหตุปัจจัยที่ทำมาเรื่อย ๆ อาจหลายสิบปีจึงจะได้รับผลเต็มที่) ตัวอย่าง เช่น เรื่องเด็กระดับมัธยม “ล่าแต้ม” โดยล่ามาแล้ว ๙๖ ราย ภายใน ๖ ปีที่นางศิริรัตน์ แอดสกุล ได้นำเสนอผลวิจัยออกมานั้น(หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ กรกฎาคม พุทธศักราช 2551 หน้า 13) จัดอยู่ในระดับแรก เขาได้เหตุถ่ายทอดมาจากมารดาบิดาเป็นต้นทุน โดยมีปัจจัย คือ ปัจจุบันก็ทำปาณาติบาต ฆ่าสิ่งมีลมปราณ (ฆ่าไข่สัตว์ มีไข่เป็ด ไข่ไก่ เป็นต้น เป็นกรรมระดับสอง ทำเป็นปัจจัยสนับสนุนส่วนที่เป็นอกุศลวิบากหรือผลกรรมชั่วที่เปิดเผย (ผลระดับสาม) ยังไม่ปรากฏออกมา ซึ่งมีอยู่ ๑๐ อย่าง คือ
๑. ราชภัย ภัยเกิดแต่ราชการ
๒. โจรภัย ภัยเกิดแต่โจร
๓. อัคคีภัย ภัยเกิดแต่ไฟ
๔. วาตภัย ภัยเกิดแต่ลม
๕. อุทกภัย ภัยเกิดแต่น้ำ
๖. โรคะภัย ภัยเกิดแต่โรค
๗. อุปัตติภัย ภัยที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า
๗. วิวาทะภัย ภัยเกิดแต่การทะเลาะวิวาท
๙. ทุพภิกขภัย ภัยเกิดแต่ข้าวยากหมากแพง
๑๐. วินาศภัย ภัยที่ฉิบหายอย่างร้ายแรง
ส่วนข่าวเรื่อง อาจารย์ในมหาวิทยาลัย... ทำอนาจารนักศึกษา มีผู้จับได้คาหนังคาเขา และถูกทางการดำเนินคดีนั้น อันนี้เป็นอกุศลวิบากหรือเป็นผลกรรมที่เปิดเผยแล้ว (เหตุ คือ ทุนเดิมหรือเผ่าพันธุ์จากมารดาบิดามาเป็นเหตุให้ลูกคนนี้ได้ทำ ปาณาติบาต เป็นปัจจัยและเหตุไปในตัว คือ ฆ่าสิ่งมีชีวิตและมีลมปราณ (สัตว์มีชีวิตบ้าง สิ่งมีลมปราณ มีไข่เป็ด ไข่ไก่ ไข่นก เป็นต้น) ทำต่อเนื่องกันมาเรื่อย ๆ นานถึง ๔๐ กว่าปี จึงได้รับผลเปิดเผยประสบภัย คือ “ราชภัย” ออกมาและกรรมนี้ยังไม่มีการยุติได้ เมื่อยังไม่มีปัญญาไปดับที่ “เหตุ” คือ อาสวะ เครื่องมักดองในสันดานเดิม ๆ โน้น
สำหรับเด็กที่ล่าแต้มเป็นว่าเล่น ที่ยังไม่ได้รับผลชั่วอย่างเปิดเผยก่อน (ยังเพลิดเพลินสนุกสนานอยู่) นั้น อันที่จริง จิตใจ อารมณ์ ทัศนคติ หรือปัญญา ความรู้สึกนึกคิดของเขานั้น ท่องเที่ยวไป ๆ มา อยู่ใน “อบายโลก” คือ โลกของคนผู้มีจิตใจเสื่อมจากความเป็นมนุษย์แล้ว ๖ เผ่าพันธุ์ ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น มีความเป็นคนสัตว์นรก เป็นคนเดียรัจฉาน เป็นต้น

thammiga ตอบปัญหาข้อที่ 1

"ท่านเชื่อหรือไม่ว่า พฤติกรรมของพ่อแม่ในอดีต จะถูกถ่ายทอดไปยังลูก ๆ ของตน ถ้าเชื่อว่า เป็นไปได้ ก็ให้ท่านอธิบายตามเหตุและผลที่รู้มา หรือถ้าเชื่อว่า เป็นไปไม่ได้ก็อธิบายตามเหตุและผลเช่นกัน"
เชื่ออย่างยิ่งว่า พฤติกรรมของพ่อแม่ย่อมถูกถ่ายทอดไปยังลูก ๆ ได้
พฤติกรรมของลูกคนทั้งโลก จะระบุว่าเป็นพฤติกรรมที่ดีหรือเลวนั้น ย่อมมีทัศนแตกต่างกันไป ตามวิสัยของคนผู้มอง (นานาทัศนะ) แต่ในที่นี้จะนำเอาคำว่า พฤติกรรมที่ดีหรือเลวตามทัศนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น มาเป็นหลักในการอธิบาย เพราะเป็นความดีหรือเลวที่เป็นสูตรสากลจริง ๆ ทัศนของคนอื่น ๆ เป็นสากลไม่ได้
พฤติกรรมหรือ กรรมไม่ดีและกรรมดีของคนท่านตรัสไว้ใน สุตตันตปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง ของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ พิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๒๑ เล่ม ๓ ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค ข้อ ๓๕๙-๓๖๐ ความว่า อกุศลกรรมบถ พฤติกรรม หรือกรรมไม่ดีของคน ๑๐ อย่าง และกุศลกรรมบถ พฤติกรรมหรือกรรมดีของคน ๑๐ อย่าง
อกุศลกรรมบถหรือพฤติกรรมที่ไม่ดี ๑๐ อย่าง
๑. การยังสัตว์มีชีวิตและมีลมปราณให้ตกล่วงไป
๒. การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้แล้ว
๓. การประพฤติผิดในกามทั้งหลาย
๔. การพูดเท็จ
๕. การพุดส่อเสียด
๖. การพุดคำหยาบ
๗. การพูดเพ้อเจ้อ
๘. ความคิดเพ่งเล็งเขาในแง่ร้ายหรืออยากได้ของเขา
๙. ความคิดปองร้ายเขา
๑๐. ความเห็นผิด
อกุศลกรรมบถหรือพฤติกรรมที่ไม่ดีทั้ง ๑๐ อย่างเหล่านี้ บางสิ่งบางอย่าง มารดาบิดาอาจทำและจดจำไว้แล้วก็ได้ บางสิ่งบางอย่างอาจไม่ได้ทำไว้เลยก็ได้ กรณีนี้เองที่เป็นการถ่ายทอดเป็นมรดกตกไปถึงลูก ๆ หลาน ๆ ในเมื่อทำให้เขาได้เกิดมา
กุศลกรรมบถหรือพฤติกรรมที่ดี ๑๐ อย่าง
๑. เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการยังสัตว์มีชีวิตและมีลมปราณให้ตกล่วงไป
๒. เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้แล้ว
๓. เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย
๔. เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดเท็จ
๕. เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพุดส่อเสียด
๖. เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพุดคำหยาบ
๗. เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
๘. ความไม่คิดเพ่งเล็งเขาในแง่ร้ายหรืออยากได้ของเขา
๙. ความไม่คิดปองร้ายเขา
๑๐. ความเห็นชอบ
กุศลกรรมบถหรือพฤติกรรมที่ดี ๑๐ อย่างเหล่านี้ บางสิ่งบางอย่าง มารดาบิดาอาจทำและจดจำไว้แล้วก็ได้ บางสิ่งบางอย่างอาจไม่ได้ทำไว้เลยก็ได้ กรณีนี้เองที่เป็นการถ่ายทอดเป็นมรดกตกไปถึงลูก ๆ หลาน ๆ ในเมื่อทำให้เขาได้เกิดมา
ในสุตตันตปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง ของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ พิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๒๑ เล่ม ๖ ในจูฬกัมมวิภังคสูตร ข้อ๕๘๑ ความว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน, เป็นทายาทแห่งกรรม, มีกรรมเป็นกำเนิด, มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์, มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย, กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้ฯลฯ
อธิบายความตามหลัก ๖ หลักนี้
๑. สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นของตน
คือ ลูกได้วิบากกรรม(ผลของกรรมทั้งดีและชั่ว)ทั้งดีและชั่วเป็นทุนจากแม่ พ่อก่อน ต่อมาลูกก็นำทุนมาทำเป็นกรรมของตน ทั้งดีและชั่ว
๒. เป็นทายาทแห่งกรรม
ระยะแรกเกิดก็รับมรดก คือ ผลกรรม ทั้งดีและชั่วจากแม่พ่อ เมื่อไปทำกรรมใหม่ทั้งดีและชั่ว ก็ได้รับผลใหม่ที่ทำนั้น
๓. มีกรรมเป็นกำเนิด
ที่ได้ถือกำเนิดมาจากครรภ์ของแม่นั้น ก็เพราะแม่พ่อร่วมกันทำกรรม (มีเพศสัมพันธ์) ลูกก็ถือกำเนิดมาจากกรรมนั้น
๔. มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
จิตใจ อารมณ์ ทัศนคติ หรืออุปนิสัย (ไม่ใช่ร่างกาย) ของแม่พ่อเป็นคนเผ่าพันธุ์ใด ซึ่งมีอยู่ ๑๐ เผ่าพันธุ์ คือ (๑) คนสัตว์นรก (๒) คนเปรต (๓) คนเดียรัจฉาน (๔) คนอสุรกาย (๕) คนอมนุษย์ (๖) คนมาร (๗) คนมนุษย์ (๘) คนเทวดา (๙) คนพระพรหม และ (๑๐) คนเผ่าพันธุ์พระอริยบุคคลระดับต้น ๆ เมื่อแม่พ่อเป็นคนเผ่าพันธุ์ใด ลูกเกิดมาก็เป็นเผ่าพันธุ์นั้นตาม
๕. มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
หมายถึง การพึ่งพาอาศัยชนิดที่ชี้เป็นชี้ตายทีเดียว เช่น กิจการจักสำเร็จหรือไม่สำเร็จตามที่ตนปรารถนานั้น มีผู้ช่วยเหลือหรือไม่นั้นไม่สำคัญ แต่ที่สำคัญ คือ กรรมดี กรรมชั่วของตนเองนำพาให้สำเร็จหรือไม่สำเร็จ
๖. กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้
- อกุศลกรรมหรือกรรมชั่ว ๑๐ อย่าง มีเจตนาทำปาณาติบาตเป็นอาจิณ เป็นต้น เป็นสิ่งที่ให้ผลแก่ชีวิต คือ จำแนกจิตใจ อารมณ์ ทัศนคติ ปัญญา ให้สัตว์หรือคนเช่นนี้เป็นคนสัตว์นรก เป็นคนเปรต ฯลฯ เป็นคนมาร
- กุศลกรรมหรือกรรมดี ๑๐ อย่างมีเจตนางดเว้นจากการทำปาณาติบาต เป็นต้น เป็นสิ่งที่ให้ผลแก่ชีวิต คือ จำแนกจิตใจ อารมณ์ ทัศนคติ ปัญญา ให้สัตว์หรือคนเช่นนี้เป็นมนุษย์ ผู้มีจิตใจสูง เป็นเทวดา ผู้มีหูทิพย์ตาทิพย์
- กุศลกรรมระบบสมถกัมมัฏฐานสายสัมมาปฏิบัติ เป็นสิ่งที่ให้ผลแก่ชีวิต คือ จำแนกจิตใจ อารมณ์ ทัศนคติ ปัญญา ให้สัตว์หรือคนเช่นนี้เป็นพระพรหม ผู้มีจิตใจประเสริฐ
- อัพยากตกรรม คือ กรรมไม่ดีและไม่ชั่ว หรือวิปัสสนากัมมัฏฐานสายสัมมาปฏิบัติ เป็นสิ่งที่ให้ผลแก่ชีวิต คือ จำแนกจิตใจ อารมณ์ ทัศนคติ ปัญญา ให้สัตว์หรือคนเช่นนี้เป็นพระอริยบุคคล เช่น พระพุทธเจ้า เป็นต้น
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน
สัตว์เกิดในครรภ์ เช่น คน เป็นต้น มีกุศลกรรมฝ่ายดี หรืออกุศลกรรมฝ่ายชั่วของตน คือ มารดาบิดาก่อน เมื่อมารดาบิดามีเพศสัมพันธ์กัน น้ำอสุจิที่มาผสมกับไข่ในครรภ์ก่อให้คนปฏิสนธิและปฏิสนธิด้วยการประมวลกรรมหรือวิบากกรรม ที่เป็นกรรมดีหรือเป็นกรรมชั่วของมารดาบิดานั้นมาให้ปฏิสนธิหรือให้เกิดเป็นตัวตนใหม่ คือ ลูก จากนั้นต่อไปก็จึงเป็นว่า สัตว์ทั้งหลาย (ลูก ๆ ) มีกรรมดีและชั่วเป็นของตน (เพราะเป็นมรดกตกทอดมาจากมารดาบิดา) พฤติกรรมหรือการกระทำของลูก ๆ ต่อ ๆ ไปก็ย่อมเป็นเหมือน ๆ กันกับพฤติกรรมของมารดาบิดา แต่อาจมีลักษณะเด่นเป็นบางอย่าง หรือมีลักษณะด้อยเป็นบางอย่าง ก็แล้วแต่กรณีหรือแล้วแต่เหตุปัจจัยมาสนับสนุนหรือมาลิดรอนให้อะไรเด่น-ด้อย ดูตัวอย่าง แมว พฤติกรรมของลูกแมวก็ย่อมไม่ต่างจากพฤติกรรมของแม่และพ่อแมวเท่าไรนัก ก็เพราะมีกรรมเป็นของตน (กรรมของตน คือ ของแม่แมวและกรรมของตน คือ ของลูกแมว เป็นต้น)
สัตว์ทั้งหลายเป็นทายาทแห่งกรรม (รับมรดกของกรรมดีและชั่ว จากมารดาบิดามาเป็นต้นทุนก่อน)
ทายาท ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ นิยามไว้ว่า “ ผู้สืบสันดาน ผู้สืบสกุล” ขยายความว่า ชีวิตของลูก ๆ ทั้งหมดทั้งร่างกาย จิตใจ ทัศนคติไม่ว่าคน สัตว์เป็ผลกรรมดีและชั่วของมารดาบิดาถ่ายทอดเป็นทุนมาให้ทั้งสิ้น (อ่านดูตัวอย่างการรับมรดกกรรมชั่ว จากมารดา(ตามภาษาคนหรือพระสูตร) ในธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค ๑ ของมหามกุฏราชวิทยาลัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑๑/๒๕๒๖ หน้า ๖๔ เรื่อง ความเกิดขึ้นของนางกาลียักษิณี)