"ในปัจจุบันเยาวชนบางคนถือว่า การมีเพศสัมพันธ์(ก่อนแต่งงาน) ถือว่า เป็นเรื่องธรรมดา ไม่ได้เสียหายอะไร หากคนทั้งสอง (คู่นอน) เขาพร้อมใจกัน อะไรเป็นสาเหตุให้เยาวชนบางคนเป็นเช่นนี้"
ลักษณะของคำว่า เหตุผล
คำว่า “เหตุผล” เหตุ + ผล = เหตุผล หมายถึง การที่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งก่อตัวปรากฏขึ้นนั้น ย่อมมีสาเหตุให้สิ่งนั้นเกิดเป็นผลปรากฏขึ้นมา หรืออาจจะกล่าวว่า สิ่งนี้เกิดปรากฎขึ้นมาแล้วจะเป็นสาเหตุให้เกิดเป็นผลต่อ ๆ ไปในภายหน้า
เมื่อคำจำกัดความของ “ เหตุผล” ออกมาในลักษณะเช่นนี้แล้ว ผู้ทำการวิเคราะห์ วิจัย วิจารณ์ พิจารณา เพื่อให้ได้ข้อสรุปลงในหลักแห่งความเป็นจริงของสิ่งนั้น ๆ ควรจะมีหลักอะไรมายืนยันจึงยะเป็นข้อยุติได้ เนื่องจากว่า สิ่งที่เกิดปรากฏขึ้นมานั้น ย่อมเป็นไปได้ทั้งตัวเหตุและทั้งตัวผลอยู่ในตัวเดียวกัน
พุทธศาสนา หรือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ในธรรมวิภาค ปริเฉทที่ ๒ หลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นโท ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส มหามกุฏราชวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ ๓๔/๒๕๒๗ มีอยู่ในหน้า ๓ ความว่า เทสนา ๒ อย่าง คือ
๑. ปุคคลาธิฏฐาน มีบุคคลเป็นที่ตั้ง
๒. ธัมมาธิฏฐาน มีธรรมเป็นที่ตั้ง (บอกที่มาว่า สทฺ ปฏิ.๗๗.)
เทสนามีบุคคลเป็นที่ตั้ง ได้แก่ ความหมาย ประโยชน์ หรือเหตุผลที่เป็นไปตามหลักแห่ง “ภาษาคน” หรือความหมายตามหลักแห่งภาษาหนังสือ ปริยัติ พระสูตร พระวินัย เป็นภาษา
แห่งสุตามยปัญญาบุคคล จินตามยปัญญาบุคค เช่น คำว่า ประโยชน์ เหตุผล ที่เป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์ หลักจิตวิทยา หลักปรัชญา หลักสังคมศาสตร์ หลักสังคมวิทยา เป็นต้น เรียกว่า “บุคคลาธิฏฐาน” คือ เหตุผลตามหลักแห่งภาษาคน นำมาปฏิบัติไม่ได้ ถ้าได้ก็ไม่มีที่ยุติ
เทสนามีธรรมเป็นที่ตั้ง ได้แก่ ความหมาย ประโยชน์ หรือเหตผล ที่เป็นไปตามหลักแห่ง
“ภาษาธรรม” หรือความหมายตามหลักแห่งภาษาจิต ภาษาปฏิบัติ ซึ่งเป็นภาษาแห่งภาวนามยปัญญาบุคคล เป็นการปฏิบัติได้จริง แต่ที่จารึกไว้ในพระไตรปิฎก จะมีใช้เฉพาะคำว่า “เหตุปัจจัย” หรือ คำว่า “เหตุ” หรือ คำว่า “กรรม คือ เหตุ วิบาก คือ ผล” เท่านั้น แต่จะมีความหมายต่างกันกับคำว่า “เหตุผล” ที่สุตามยปัญญาบุคคล และจินตามยปัญญาบุคคลนำมาใช้พูดกันโปรดไตร่ตรองให้ดี
เหตุผลตามหลักภาษาธรรม (เป็นความจริง)
ภาษาธรรม เช่น คำถามที่อุปติสสมาณพถามพระอัสสชิ ในสุตตันตปิฎก ฉบับภาษาไทย เล่ม ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ ข้อ ๓ ข้อความที่พระอัสสชิตอบมาณพว่า “ธรรมเหล่าใด มีเหตุเป็นแดนเกิดว่า พระตถาคตเจ้าตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้นและความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณเจ้ามีปรกติตรัสอย่างนี้” (สรุปว่า มีเหตุและปัจจัย จึงจะเกิดเป็นผล)
๑. (เหตุ) การที่เยาวชน (ลูกคน) คิดมีเพศสัมพันธ์กันก่อนแต่งนั้น มีเหตุเป็นแดนเกิด คือ
มีกรรมชั่วเป็นเผ่าพันธุ์รับมรดกจากมารดาบิดา ได้เป็นทุนมาเกิดในท้องแม่ผู้มีเพศสัมพันธ์กับคนที่มิใช่มนุษย์ ๖ เผ่าพันธุ์ก่อน คือ
(๑) คนสัตว์นรก
(๒) คนเปรต
(๓) คนเดียรัจฉาน
(๔) คนอสุรกาย
(๕) คนอมนุษย์
(๖) คนมาร
โปรดตรวจตราดูสัตว์เดียรัจฉานบางประเภทที่เราท่านเห็นกันอยู่ เช่น สุนัข แมว วัว ควาย
เป็นต้น ทั้งที่มีคนเลี้ยงและไม่มีคนเลี้ยง จะมีเพศสัมพันธ์กันอย่างหน้าเฉย ไม่แยแสว่า ใครจะมามุงดูหรือไม่ดู เพราะเป็นความปรกติธรรมดาของเขา ฉันใด คนเผ่าพันธุ์เดียรัจฉาน เป็นต้น ก็ฉันนั้น (นี้ คือ สาเหตุจริง และมีปัจจัยมาสนับสนุนด้วย)
๒. (ปัจจัย) ในข้อแรกบอกว่า มีสาเหตุอยู่เกิดกับคนเผ่าพันธุ์ที่ไม่ใช่มนุษย์ พอมาถึงข้อ
สอง คือ มีปัจจัยมาสนับสนุนก่อน หรือกรรมสนับสนุน เช่น ทำปาณาติบาต คือ ฆ่าสิ่งที่มีชีวิตบ้าง (ฆ่าสัตว์มีชีวิต) ฆ่าสิ่งมีลมปราณบ้าง (ฆ่าไข่สัตว์) ฆ่าโดยตรงก็มี ฆ่าโดยปริยายก็มี ฆ่าด้วยตนเองก็มี ใช้ให้คนอื่นฆ่าก็มี หรือผู้อื่นฆ่าเจาะจงนำมาให้เราก็มี(โดยเฉพาะการทุบหรือฆ่าไข่เป็ด ไข่ไก่ที่สดอยู่ เป็นต้น เป็นกรรมปัจจัยสนับสนุน)
๓. (ผล) ผลที่ได้รับต่อเนื่องมาจากเหตุและปัจจัย (เหตุปัจจัยที่ทำมาเรื่อย ๆ อาจหลายสิบปีจึงจะได้รับผลเต็มที่) ตัวอย่าง เช่น เรื่องเด็กระดับมัธยม “ล่าแต้ม” โดยล่ามาแล้ว ๙๖ ราย ภายใน ๖ ปีที่นางศิริรัตน์ แอดสกุล ได้นำเสนอผลวิจัยออกมานั้น(หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ กรกฎาคม พุทธศักราช 2551 หน้า 13) จัดอยู่ในระดับแรก เขาได้เหตุถ่ายทอดมาจากมารดาบิดาเป็นต้นทุน โดยมีปัจจัย คือ ปัจจุบันก็ทำปาณาติบาต ฆ่าสิ่งมีลมปราณ (ฆ่าไข่สัตว์ มีไข่เป็ด ไข่ไก่ เป็นต้น เป็นกรรมระดับสอง ทำเป็นปัจจัยสนับสนุนส่วนที่เป็นอกุศลวิบากหรือผลกรรมชั่วที่เปิดเผย (ผลระดับสาม) ยังไม่ปรากฏออกมา ซึ่งมีอยู่ ๑๐ อย่าง คือ
๑. ราชภัย ภัยเกิดแต่ราชการ
๒. โจรภัย ภัยเกิดแต่โจร
๓. อัคคีภัย ภัยเกิดแต่ไฟ
๔. วาตภัย ภัยเกิดแต่ลม
๕. อุทกภัย ภัยเกิดแต่น้ำ
๖. โรคะภัย ภัยเกิดแต่โรค
๗. อุปัตติภัย ภัยที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า
๗. วิวาทะภัย ภัยเกิดแต่การทะเลาะวิวาท
๙. ทุพภิกขภัย ภัยเกิดแต่ข้าวยากหมากแพง
๑๐. วินาศภัย ภัยที่ฉิบหายอย่างร้ายแรง
ส่วนข่าวเรื่อง อาจารย์ในมหาวิทยาลัย... ทำอนาจารนักศึกษา มีผู้จับได้คาหนังคาเขา และถูกทางการดำเนินคดีนั้น อันนี้เป็นอกุศลวิบากหรือเป็นผลกรรมที่เปิดเผยแล้ว (เหตุ คือ ทุนเดิมหรือเผ่าพันธุ์จากมารดาบิดามาเป็นเหตุให้ลูกคนนี้ได้ทำ ปาณาติบาต เป็นปัจจัยและเหตุไปในตัว คือ ฆ่าสิ่งมีชีวิตและมีลมปราณ (สัตว์มีชีวิตบ้าง สิ่งมีลมปราณ มีไข่เป็ด ไข่ไก่ ไข่นก เป็นต้น) ทำต่อเนื่องกันมาเรื่อย ๆ นานถึง ๔๐ กว่าปี จึงได้รับผลเปิดเผยประสบภัย คือ “ราชภัย” ออกมาและกรรมนี้ยังไม่มีการยุติได้ เมื่อยังไม่มีปัญญาไปดับที่ “เหตุ” คือ อาสวะ เครื่องมักดองในสันดานเดิม ๆ โน้น
สำหรับเด็กที่ล่าแต้มเป็นว่าเล่น ที่ยังไม่ได้รับผลชั่วอย่างเปิดเผยก่อน (ยังเพลิดเพลินสนุกสนานอยู่) นั้น อันที่จริง จิตใจ อารมณ์ ทัศนคติ หรือปัญญา ความรู้สึกนึกคิดของเขานั้น ท่องเที่ยวไป ๆ มา อยู่ใน “อบายโลก” คือ โลกของคนผู้มีจิตใจเสื่อมจากความเป็นมนุษย์แล้ว ๖ เผ่าพันธุ์ ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น มีความเป็นคนสัตว์นรก เป็นคนเดียรัจฉาน เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น